โรคกระดูกพรุน

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่้เป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับที่ 2 รองจากโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด ข้อมูลทั่วโลกระบุว่า ประชากร 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 8 ของผู้ชาย ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน(Osteoporotic fracture) ยิ่งไปกว่านั้นมีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยที่มีการหักของกระดูกสะโพก (Hip fracture) จะเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านคนในปีค.ศ. 1990 เป็น 6.3 ล้านคนในปีค.ศ. 2050 เนื่องจากประชากรโลกมีอายุยืนมากขึ้น
โรคกระดูกพรุนคืออะไร
เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อกระดูก โดยมวลและความหนาแน่นของกระดูกลดลงซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง ข้อมือ สะโพก กระดูกเชิงกราน และต้นแขน มักพบในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนจนกระทั่งกระดูกหัก จากรายงานการศึกษาขององค์การอนามัยโลก พบว่า การตรวจความหนาแน่นของกระดูกตั้งแต่เนิ่นๆจะสามารถลดผลกระทบจากโรคกระดูกพรุนได้
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนแบบง่ายๆมีดังนี้
-ประวัติทางการแพทย์
-การตรวจเบื้องต้น เช่น เอ็กซ์เรย์
-หาความหนาแน่นของกระดูก ด้วยวิธี
- QCT(quantitative computed tomography)
- QUS(quantitative ultrasound scanning)
-ใช้เครื่อง DEXA (Dual energy x-ray absorptionmetry) โดยวัดความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา ปลายกระดูกข้อมือ และนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าปกติในเพศและอายุช่วงเดียวกัน
-การตรวจวัดทางชีวเคมีของการสลายตัวของกระดูก (Biochemical markers of bone turnover) สามารถวัดได้จากทางเลือดหรือปัสสาวะ
-การวัดการสร้างกระดูกใหม่ (Bone formation)
-การแตกหักของกระดูก (Bone breakdown)

แนวทางการรักษา
-การจำกัดอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่และรับประทานแคลเซียมในปริมาณ 1,000 มก./วัน ตั้งแต่เด็ก
-การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
-ลดการใช้ยาคอร์ติโซน(Cortisone) และให้รับประทานยาป้องกันกระดูกพรุนเมื่อจำเป็นต้องใช้ยาคอร์ติโซน
-รับประทานแคลเซียมและวิตมินดีเสริม
-การใช้ยารักษา เช่น การให้ฮอร์โมนทดแทนในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือน ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนส (Bisphosphonate) และวิตามินดี