แม้จะมีคนกล่าวว่า COVID-19 เป็นไวรัสแห่งความเท่าเทียม เพราะผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า แต่แท้จริงแล้ว ไวรัสนี้กลับเล่นไม่ซื่อ เพราะมันจ้องจู่โจมเหยื่อที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไรก็ดี การเก็บตัวอย่างของเหลวในร่างกายช่วยผู้ป่วยมะเร็งตีเสมอขึ้นมาได้
เวลาอาจเป็นตัวชี้วัดความเป็นความตายของผู้ป่วยมะเร็ง นั่นหมายความว่าการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่นๆ และการรักษามีส่วนทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้น อีกทั้งความสม่ำเสมอของการดูแลก็ยังสิ่งจำเป็น แต่การแพร่ระบาดของโควิดทำให้ผู้ป่วยมะเร็งต้องเผชิญความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3 ประการ ดังต่อไปนี้
- ในสถานการณ์ปกติ ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลอาจต้องใช้เวลาเกินกว่า 1 วันเพื่อเดินทางไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ช่วงเดือนแรกๆ ที่เกิดการระบาดขึ้น เกือบทุกคนต้องเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงความล้มเหลวของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไล่ไปตั้งแต่การเดินทางจนถึงการดูลุขภาพ
- การล็อคดาวน์และโรงพยาบาลที่แออัดทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการตรวจหรือการรักษาได้ ส่วนผู้ป่วยบางคนที่พอจะสามารถเดินทางไปได้ ก็อาจจะกลัวเกินกว่าจะเดินทางไปโรงพยาบาลอยู่ดี
- สำหรับผู้ป่วยมะเร็งซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำ มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโควิด-19 หรือเชื้อโรคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น
นับตั้งแต่เกิดการระบาด รัฐบาลและหน่วยงานวิชาการรายงานว่าการรักษามะเร็งลดลงมากทั่วโลก การศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ว่าเกือบ 61% ของศูนย์มะเร็งใน 18 ประเทศ มีกิจกรรมทางคลินิกลดลงในช่วงแรกของการระบาด และงานวิจัยราว 2 ใน 3 ที่มีการอ้างอิงได้แสดงความกังวลเรื่องการรักษาที่น้อยกว่าที่ควร
ข้อมูลที่นำเสนอในการประชุม ESMO Virtual Congress 2020 ซึ่งปรากฏอยู่ในงานวิจัยชิ้นเดียวกันนั้น แสดงให้เห็นว่าประเภทของการรักษาที่ถูกยกเลิกหรือชะลอไว้ ประกอบด้วย การผ่าตัด 44% การทำคีโมเธอราปี เกือบ 26% และการฉายรังสี อีกประมาณ 14% นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าการประคับประคองอาการสิ้นสุดลงก่อนกำหนด ใน 32% ของศูนย์มะเร็ง
การตรวจคัดกรองทั่วไปก็ลดฮวบลงเช่นกัน เมื่อการตรวจหาโรคในระยะแรกทำได้น้อยลง ย่อมหมายความว่า โอกาสรอดชีวิตย่อมต่ำลงในระยะท้ายๆ ของโรค
งานวิจัยชิ้นอื่นๆ ยังระบุว่าการนัดหมายเพื่อติดตามการตรวจคัดกรองซึ่งอาจช่วยให้พบมะเร็งชนิดใหม่ แค่เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว กลับลดลงถึง 80% ช่วงเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ส่วนในงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งประมาณการว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปากมดลูก ในประเทศสหรัฐอเมริกาลดลงราว 60% ตั้งแต่กลางดือนมีนาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563
หาทางออกให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
พนักงานของโรชทั่วโลกทราบดีว่า ผู้ป่วยมะเร็งเป็นกลุ่มคนที่ถูกมองข้ามในช่วงยับยั้งโรคระบาด จึงพยายามหาหนทางและนวัตกรรมเพื่อมอบความช่วยเหลือ
“สถานการณ์ในอิตาลีย่ำแย่มาก นี่เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก” คุณ Luca Lattanzi ตำแหน่ง Brand Manager of Precision Medicine ของ Roche กล่าว
จะว่าไปแล้ว การแพร่ระบาดในอิตาลีเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เนื่องจากความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มเติมขึ้นตามวัย ตามข้อมูลประชากรปี พ.ศ. 2562 ชาวอิตาเลียนเกือบ 1 ใน 4 (23.1%) มีอายุ 65 ปีขึ้น ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มใหญ่ที่สุดในยุโรป งานวิจัยยังระบุด้วยว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เผชิญอันตรายจากไวรัสโคโรน่าสูง มีความเป็นไปได้ว่าอย่างมากว่าจะมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ
Luca กล่าวว่า “เราได้ทราบจากทีมงานที่ลงพื้นที่และแพทย์ว่าผู้ป่วยมะเร็งในอิตาลีไม่สามารถไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจหรือการรักษาได้ การล็อคดาวน์รอบแรกจุดประกายให้เราต้องหาทางคิดนอกกรอบเพื่อหาวิธีช่วยเหลือ”
“ทางออกน่ะหรือ? การเก็บตัวอย่างของเหลวในร่างกายซึ่งทำได้ง่ายๆ อย่างการเก็บตัวอย่างเลือด โดยมีพยาบาลไปเยี่ยมผู้ป่วยถึงบ้านตามเวลาที่กำหนดเอาไว้ เพื่อเก็บตัวอย่างเลือดและนำส่งภายใน 4 ชั่วโมง จากนั้น หลอดบรรจุเลือดผู้ป่วยจะถูกนำมาที่ห้องปฏิบัติพิเศษเพื่อตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีน ข้อมูลนี้ช่วยให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วยได้ตัดสินเลือกแนวทางการรักษาแบบมุ่งเป้าได้อย่างถี่ถ้วนยิ่งขึ้น