ครั้งแรกของการจัดทำดัชนี เพื่อเผยความก้าวหน้าของไทยด้านการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล

English version

ขณะที่ทั่วโลกกำลังรับมือกับการระบาดครั้งใหญ่ ระบบสาธารณสุขของทุกประเทศจำเป็นต้องสร้างผลลัพธ์ให้ได้มากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรลดลง ด้วยเหตุนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงกำลังพิจารณาว่าจะยกระดับการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชนได้อย่างไร ทั้งยังต้องสร้างระบบสาธารณสุขให้ตอบโจทย์สถานการณ์ในอนาคตอีกด้วย

ความท้าทายเหล่านี้ทำให้บทบาทในการออกแบบและนำกลยุทธ์ไปใช้ การวางแผน และนโยบายด้านการดูแลสุขภาพแบบจำเพาะบุคคล ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะจัดลำดับความสำคัญของทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัดได้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ผู้นำทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพต้องเปลี่ยนวิธีคิดขององค์กร จากระยะสั้นมาสู่ระยะยาว และเปิดรับการสร้างความร่วมมือ

ดัชนีประเมินความก้าวหน้าด้านการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งได้เปิดตัวไปแล้วนี้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564  นับเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Future Proofing Healthcare และกล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการจัดทำดัชนีในรูปแบบนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการวางนโยบาย โดยพิจารณาจากภาพรวมความพร้อมของประเทศต่างๆ จำนวน 11 ประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพของเมืองไทยได้ให้เกียรติมารวมตัวกันในงานแถลงข่าวเปิดตัว พร้อมนำเสนอความเป็นได้และแง่มุมที่ไทยยังต้องพัฒนาเพื่อส่งมอบผลลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้ป่วย โดยดัชนีดังกล่าวเผยให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล

คลิกที่นี่ เพื่อรับชมการเสวนาย้อนหลัง

ผลการศึกษาจากดัชนีถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นรายงานวิจัยชื่อว่า “Getting to Personalised Healthcare in APAC” โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันเพื่อการศึกษาอนาคตแห่งโคเปนเฮเกน (Copenhagen Institute for Futures Studies) และยังได้รับข้อมูลเชิงลึก ซึ่งรวมถึงคำแนะนำเชิงนโยบาย จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย

ทั้งนี้ ขอขอบคุณสื่อมวลชนไทยเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและการรักษา ทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดที่ยังรอการเติมเต็ม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับภูมิภาค

Future Proofing Healthcare เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องต่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพ เปรียบเทียบการดำเนินงานระหว่างประเทศ ระบุองค์ประกอบที่นำไปสู่การดูแลที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น และส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการหารือแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นจริงได้ในอนาคต Future Proofing Healthcare ได้รับการสนับสนุนจากโรชในการจัดทำดัชนี โดยมีนักวิชาการอิสระระดับแนวหน้าเป็นผู้ออกแบบ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ผ่านการรับรองให้สามารถนำมาใช้อ้างอิงในระบบสุขภาพได้ การจัดทำดัชนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับกระบวนการตัดสินใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขที่ต้องอาศัยข้อมูลประกอบ และยกระดับระบบสุขภาพให้สอดคล้องกับความท้าทายและลำดับความจำเป็นของแต่ละประเทศ โครงการนี้เกิดขึ้นในยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2561 และที่ผ่านมาได้จัดทำดัชนีชี้วัดมาแล้ว 4 ดัชนี ที่ว่าด้วยความยั่งยืน มะเร็งเต้านม โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ และล่าสุด ดัชนี้การดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล