กรุงเทพฯ ประเทศไทย - กระทรวงสาธารณสุขให้คำจำกัดความของ “โรคหายาก” ว่าเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยภายในประเทศไทยน้อยกว่า 10,000 ราย จึงมักถูกละเลยเนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักหรือไม่มีผลกระทบต่อคนส่วนมาก แต่แท้จริงแล้ว มีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหายากที่มีอยู่รวมกันกว่า 7,000 โรค อาจมีสูงถึง 300 ล้านคนทั่วโลก 1 ดังนั้น การสร้างความตระหนักและผลักดันการรักษาที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรคหายากจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันยังช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐสถานะของผู้ป่วย ครอบครัวและสังคม อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคหายากยังคงเป็นสิ่งที่สังคมอาจมองข้าม เนื่องจากขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและต้องอาศัยเทคโนโลยี งบประมาณในการวิจัยและพัฒนา อีกทั้งความเชี่ยวชาญขั้นสูงด้านการคัดกรอง วินิจฉัย และรักษา
ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสวันโรคหายากสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปี โรช ไทยแลนด์2 ได้ร่วมมือกับมูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแห่งประเทศไทย F)E)N)D) เพื่อสร้างองค์ความรู้และรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผลกระทบของโรคหายาก โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งเป็นโรคหายากที่พบในทารกแรกเกิดและเด็ก
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Spinal Muscular Atrophy: SMA) เป็นโรคหายากที่เกิดจากความผิดปกติของกรรมพันธุ์ในยีนด้อย หากบิดาหรือมารดาเป็นพาหะทั้งคู่ ย่อมมีโอกาสสูงถึง 1 ใน 4 ที่บุตรจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ ความผิดปกติทางพันธุกรรมดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการสูญเสียการส่งสัญญาณจากไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง อุบัติการณ์โดยประมาณของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA พบได้ในเด็กแรกเกิดทั่วโลกจำนวน 1 คน ในประชากร 10,000 คนในแต่ละปี และอัตราของคนที่เป็นพาหะอยู่ที่ 1:40–1:60 คน3 โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีโอกาสพบได้บ่อยเป็นอันดับสองรองจากโรคธาลัสซีเมีย อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในทารกและเด็กเล็ก หากไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 4
รศ.พญ.อรณี แสนมณีชัย กรรมการมูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจารย์ประจำสาขาระบบประสาทวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า “ในปัจจุบันยังไม่มีการลงทะเบียนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในประเทศไทย ดังนั้น เราจึงไม่สามารถชี้แจงจำนวนผู้ป่วยที่แน่ชัดได้ อย่างไรก็ตาม ได้มีการค้นพบว่าอัตราพาหะของโรคในประเทศไทยอยู่ที่ 1:50 หากคำนวณจากประชากรในประเทศ จะพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA อยู่ประมาณ 10,000-20,000 ราย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA มีอาการแสดงได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยเด็ก ผู้ป่วยจะมีอาการแขน ขาอ่อนแรง บางคนอาจมีอาการหายใจลำบาก การดำรงชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและอายุที่เริ่มแสดงอาการ ซึ่งก่อให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติปัจจุบันอาศัยการรักษาแบบประคับประคอง ด้วยการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู เช่น การทำกายภาพบำบัด ส่วนการรักษาเฉพาะโรคนั้น คือ การรักษาด้วยยีนบำบัดซึ่งจำเป็นต้องใช้ทีมแพทย์และทีมบำบัดที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนั้น การร่วมมือกันระหว่างหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รัฐบาล และองค์กรเอกชน จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงและขยายตัวเลือกในการรักษาผู้ป่วย”
ปัจจุบัน มีการคิดค้นนวัตกรรมการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ประสาทสั่งการได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการทดลองทางคลินิกกว่าสองครั้งในกลุ่มประชากรตัวอย่างที่มีอายุและระดับความรุนแรงของโรคต่างกัน7
นวัตกรรมยารักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญทางการแพทย์ โดยเฉพาะในแวดวงของโรคหายากอย่างโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA โดยยาตัวนี้สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการอยู่รอดของทารกได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจถาวร ทำให้ผู้ป่วยสามารถนั่งได้โดยไม่ต้องประคองและทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่เคยทำได้ เช่น การแปรงฟันและการหวีผมด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นพัฒนาการครั้งใหญ่ของการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA” พญ. ศันสนี เลิศฤทธิ์เรืองสิน หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด กล่าว “เรามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมการรักษาและวินิจฉัย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยโรคหายาก ด้วยวัตถุประสงค์หลักที่จะคิดค้นการรักษาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้กับผู้ป่วยโรคหายากที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และช่วยให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและใกล้เคียงกับเด็กปกติให้มากที่สุด
การจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอในกลุ่มผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ เพราะบางครั้งผู้ป่วยประสบปัญหาเรื่องการปรับตัวและการเข้าสังคม ดังนั้น การรวมกลุ่มกันของผู้ป่วยและผู้ดูแลเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ทั้งยังแบ่งปันความรู้และการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีจึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแห่งประเทศไทย F)E)N)D) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2558 นับได้ว่าเป็นมูลนิธิแห่งความหวังและกำลังใจเพื่อเด็กไทยที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีจุดประสงค์หลักในการมอบโอกาสให้เด็กโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้รับความช่วยเหลือจากทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ พร้อมได้รับการดูแลสภาพร่างกายและฟื้นฟูสภาพจิตใจอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็น รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการศึกษาและกิจกรรมทางสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เสริมสร้างกำลังใจ และเพิ่มศักยภาพในการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วย
ด.ช. ณัฐธีร์ เอี่ยมฤทธิไกร หรือน้องพีค อายุ 8 ปี พร้อมคุณแม่ น.ส. รัชดา ศรีพัฒนาวงศ์ ได้กล่าวในฐานะผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA และผู้ดูแลว่า “น้องพีคได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เมื่ออายุได้ 9 เดือน โรคนี้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างมากเนื่องจากน้องไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มาก จึงทำให้คุณแม่ต้องคอยอยู่เคียงข้างเพื่อดูแลน้องตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนที่อยู่ที่โรงเรียน ดังนั้น ความหวังสูงสุดของคุณแม่คงหนีไม่พ้นการที่จะให้อาการของน้องดีขึ้นและสามารถช่วยตัวเองได้มากขึ้น อยากให้ลูกใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” คุณแม่รัชดา กล่าว ส่วนน้องพีคได้เล่าถึงความฝันสูงสุดและให้กำลังใจเพื่อนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงว่า “ความใฝ่ฝันสูงสุดของผมคือการมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง เพื่อที่ผมจะสามารถเดินได้เหมือนเด็กคนอื่น แม้จะเป็นแค่เพียงวันเดียวก็ตาม ผมอยากจะส่งกำลังใจกับเด็กคนอื่น ๆ ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ให้สู้ต่อไป อย่าท้อเพราะเราจะผ่านมันไปด้วยกัน"
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) และโรคหายากอื่น ๆ เป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งยังต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และการได้รับกำลังใจจากผู้คนรอบข้าง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์และเป็นปกติสุขมากที่สุดทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ที่เฟซบุ๊กมูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแห่งประเทศไทย หรือเว็บไซด์
การอ้างอิง
Stéphanie Nguengang Wakap, et al. (2019) “Estimating cumulative point prevalence of rare diseases: analysis of the Orphanet database”European Journal of Human Genetics.
Stéphanie Nguengang Wakap, et al. (2019) “Estimating cumulative point prevalence of rare diseases: analysis of the Orphanet database”European Journal of Human Genetics.
“Spinal Muscular Atrophy.” Bio Medical Central, Orphanet Journal of Rare Diseases , 2 Nov. 2011,ojrd.biomedcentral.com/articles/10.1186/1750-1172-6-71.
“โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก SMA.” Health Choice by Samitivej , 30 Apr. 2019, www.healthchoicebysamitivej.com/
“Spinal Muscular Atrophy.” Bio Medical Central, Orphanet Journal of Rare Diseases , 2 Nov. 2011,ojrd.biomedcentral.com/articles/10.1186/1750-1172-6-71.
“โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก SMA.” Health Choice by Samitivej , 30 Apr. 2019, www.healthchoicebysamitivej.com/
“FDA Approves Roche’s Evrysdi (Risdiplam) for Treatment of Spinal Muscular Atrophy (SMA) in Adults and Children 2 Months and Older.”Roche , 10 Aug. 2020,www.roche.com/media/releases/medcor-2020-08-10b.htm.
“FDA Approves Roche’s Evrysdi (Risdiplam) for Treatment of Spinal Muscular Atrophy (SMA) in Adults and Children 2 Months and Older.”Roche , 10 Aug. 2020,www.roche.com/media/releases/medcor-2020-08-10b.htm.
This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid