หญิงไทยเลี่ยงการตรวจคัดกรอง เนื่องจากภาระหน้าที่ในครอบครัวสูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย-แปซิฟิก เสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้น

กรุงเทพฯ - 25 มีนาคม 2568, เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลในเดือนมีนาคมปีนี้ที่ทั่วโลกเฉลิมฉลองภายใต้ธีม “Accelerate Action” หรือการเร่งลงมือทำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ส่งเสริมสิทธิสตรีและความเท่าเทียมในสังคม โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) และ โรช ไทยแลนด์ จัดงานเสวนาในหัวข้อ “ร่วมส่งเสียงสตรีให้มีพลัง เพื่อผลักดันสุขภาพสตรีไทย” มุ่งเน้นความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้และขับเคลื่อนการตรวจคัดกรองเพื่อสุขภาพหญิงไทย โดยได้รับเกียรติจาก ศ.พญ.ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย พร้อมด้วยพญ. ศิริโสภา เตชะวัฒนวรรณา อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมีบำบัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคมะเร็งในผู้หญิงไทย ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงในสังคมปัจจุบัน และความท้าทายด้านสุขภาพที่ผู้หญิงไทยกำลังเผชิญ

ในปัจจุบัน ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง หรือสาธารณสุข โดยเฉพาะในบทบาทของผู้ดูแลครอบครัว ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจด้านสุขภาพ ข้อมูลล่าสุดจาก Roche Diagnostics APAC Women Health Survey 2025 ในผู้หญิงภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อายุ 25-50 ปี มากกว่า 300 ราย ระบุว่า ร้อยละ 281 ของผู้หญิงไทยเคยเลื่อนหรือหลีกเลี่ยงการรักษาทางการแพทย์ เนื่องจากภาระหน้าที่ในครอบครัว โดยประเทศไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย ใน 8 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ มากกว่าร้อยละ 802 ของผู้หญิงในประเทศโลกตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการดูแลสุขภาพของครอบครัว ยิ่งกว่านี้ ผู้หญิงยังเป็นกำลังหลักในระบบสาธารณสุข โดยร้อยละ 662 ของผู้ดูแลคนป่วยในครอบครัวทั่วโลกคือผู้หญิง และร้อยละ 713 ของบุคลากรทางการแพทย์ก็คือผู้หญิงเช่นกัน อีกทั้งยังรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครอบครัวสูงถึงร้อยละ 704 อย่างไรก็ตาม ภาระเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงไทยละเลยสุขภาพของตนเอง ส่งผลให้อัตราการเกิดมะเร็งในผู้หญิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุดจาก Economist Impact5 เผยว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในเอเชียด้วยโรคมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.8 และผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 24.9 ในปี 2573

ปัจจุบัน มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสองในห้าอันดับแรกของโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยมากที่สุด6 แม้ว่าการตรวจคัดกรองจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการรักษาได้ แต่หลายคนยังลังเลหรือไม่สามารถเข้าถึงบริการตรวจสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ข้อมูลล่าระบุว่า 1 ใน 31 ของผู้หญิงไทยมองว่าการตรวจคัดกรองเป็นเรื่องที่ไม่เร่งด่วน ทำให้พลาดโอกาสในการป้องกันและรักษาโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ศ.พญ.ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย เปิดเผยว่า “มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทย มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้วันละ 13 คน ที่น่าตกใจคือ ประมาณร้อยละ 85 ของผู้หญิงที่ยังมีเพศสัมพันธ์เคยติดเชื้อ HPV และมากกว่าร้อยละ 99 ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งปากมดลูกมาจากการติดเชื้อนี้7 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่จะช่วยให้พบความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดความเสี่ยงต่อการพบมะเร็งในระยะลุกลามและเสียชีวิต”

ผลสำรวจดังกล่าว8 พบว่า ร้อยละ 55 เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  ร้อยละ 12 วางแผนจะไปตรวจ ที่น่ากังวล คือ อีกร้อยละ 33 ไม่ต้องการตรวจคัดกรองเลย เนื่องจากกลัวเจ็บและอาย ดังนั้น จึงมีวิธีการที่ช่วยให้ผู้หญิงก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้โดยการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง (Self-Sampling HPV Test)   พบว่า ร้อยละ 65 ของสตรีที่ทำการสำรวจเห็นด้วยว่าการตรวจคัดกรองด้วยตัวเองนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งผลจากการศึกษาระดับนานาชาติและการศึกษาของสมาคมมะเร็งนรีเวชไทยพบว่าการเก็บสิ่งส่งตรวจหาเชื้อ HPV ด้วยตนเองและโดยแพทย์นั้น มีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน  ข้อมูลเหล่านี้ จึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับสตรีเพื่อดูแลสุขภาพโดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยด้วยตนเองจากการเก็บตัวอย่างจากปากมดลูกเพื่อตรวจหาเชื้อ HPV

พญ. ศิริโสภา เตชะวัฒนวรรณา  อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมีบำบัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า “การตรวจคัดกรองสุขภาพสตรีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติให้แนวทางไว้สำหรับผู้หญิงอายุ 20+ ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง กลุ่มอายุ 40-69 ปี  นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำแล้ว ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมทุก 1 ปี”9

“ผู้หญิงไทยกำลังเผชิญความท้าทายด้านสุขภาพ เพราะมีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.910 และอัตราการเสียชีวิตเพิ่มจากปี 2020 ขึ้นสูงถึงร้อยละ 25.9 ภายในปี 203011 สอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกที่คาดว่าจะมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 เป็นมากกว่า 2.7 ล้านคน และอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 เป็น 857,319 คนในช่วงเวลาเดียวกัน”11

นอกจากนี้ การสำรวจของโรชยังพบว่า ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 52 ค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพจากอินเทอร์เน็ต และร้อยละ 48 หาข้อมูลจากโรงพยาบาล11 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของแหล่งข้อมูลออนไลน์ในการให้ความรู้ด้านสุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยหรือพบความผิดปกติ ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยและดูแลสุขภาพที่เหมาะสม

นายมิไฮ อิริเมสซู กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ ประเทศไทย กล่าวว่า  “จากผลสำรวจ เราพบว่าเหตุผลหลักที่ผู้หญิงไทยไม่ตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะคิดว่าไม่มีอะไรผิดปกติ (34%)12 กลัวเจ็บ (28%)12 และกลัวผลตรวจ (26%)12  ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง”

โรชมุ่งมั่นส่งเสริมโครงการด้านสุขภาพที่ดีของผู้หญิง เพื่อยกระดับสิทธิและความเท่าเทียมด้านสุขภาพในสังคมไทย โดยดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการช่วยเหลือด้านสุขภาพสำหรับสตรีไทยที่จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้ความรู้แก่พนักงานในโรงงาน และส่งเสริมการใช้ชุดเก็บรวบรวมด้วยตนเองผ่านช่องทางดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีโครงการสัปดาห์ตรวจสุขภาพสตรีแห่งชาติ ร่วมมือกับพันธมิตรกว่า 60 องค์กรทั่วประเทศ เพื่อจัดกิจกรรมโรดโชว์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและให้ความรู้แก่ผู้หญิง รวมถึงโครงการ Cancer Care Connect ที่ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งทุกชนิดสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย ตอกย้ำการตระหนักรู้และความสำคัญของการดูแลสุขภาพในผู้หญิงยุคใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ

ทั้งนี้ โรชตั้งเป้าว่า ปีนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศ (Centers of Excellence) ในโรงพยาบาลต่างๆ จะมีการตรวจวินิจฉัยและแนวทางการรักษาแบบใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้มีการวินิจฉัยตรวจพบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ เพิ่มขึ้น 10%

นายมิไฮ ย้ำทิ้งท้ายว่า “โรชให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ และการตรวจคัดกรองด้านสุขภาพมาโดยตลอด ไม่เพียงแต่ในเดือนแห่งวันสตรีสากล แต่มุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีในทุกๆวัน เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น”

อ้างอิง

  1. Roche Diagnostics APAC Women Health Survey 2025

  2. Family Caregiver Alliance,  Women and Caregiving: Facts and Figures

  3. National Library of Medicine, 2023, Saudi women’s leadership experiences in the healthcare sector: A qualitative study

  4. Deloitte, 2021, The future of health is female: The impact of women+ health on our society

  5. Economist Impact 2023, Impact and opportunity:the case for investing in women’s cancers in Asia Pacific

  6. Global Cancer Observatory 2022, Cancer Today, International Agency for Research on Cancer

  7. Walboomers, J.M., et al. 1999;189(1):12-9.; 2Basemena, JG and Koutsky, LA. 2005; 32(1:S):16-24. 3IARC Globocan 2020 - gco.iarc.fr; http://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/cancers/23-Cervix-uteri-fact-sheet.pdf  

  8. Roche Diagnostics APAC Women Health Survey 2025

  9. NCI

  10. Economist Impact 2023, Impact and opportunity:the case for investing in women’s cancers in Asia Pacific

  11. Roche Diagnostics APAC Women Health Survey 2025

  12. Roche Diagnostics APAC Women Health Survey 2025

M-TH-00004499