หากผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียมีเลือดออก เลือดจะไหลไม่หยุดจนเสียชีวิต
ไม่ใช่ทุกคนที่เมื่อมีเลือดออกแล้วจะอันตรายถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียอาจมีอาการฟกช้ำ หรือมีเลือดออกในข้อต่อและกล้ามเนื้อ ซึ่งมักส่งผล
กระทบในระยะยาวหากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียจะมีอาการเลือดออกภายนอกร่างกายเท่านั้น เช่น จากแผลเปิดหรือรอยถลอก
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียอาจมีอาการเลือดออกภายในร่างกายที่เกิดขึ้นเองได้เช่นกัน เข่า ข้อเท้า และข้อศอก เป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย มักจะมีอายุสั้น
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียที่ได้รับกา รรักษาอย่างถูกวิธี สามารถมีอายุยืนยาวได้เทียบเท่าคนทั่วไป
โรคฮีโมฟีเลีย เอ สามารถดีขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป
โรคฮีโมฟีเลีย เอ เป็นความผิดปกติของอาการเลือดออกชนิดเรื้อรังและเกิดขึ้นตลอดชีวิต มีสาเหตุจากการขาดแฟคเตอร์ 8 ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป
เด็กที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย มีประวัติครอบครัวเป็นโรคฮีโมฟีเลียเสมอ
แม้ว่าตามปกติแล้วโรคฮีโมฟีเลียมีสาเหตุจากพันธุกรรม แต่โรคฮีโมฟีเลียสามารถเกิดขึ้นได้เองในผู้ป่วยหนึ่งในสาม
โรคฮีโมฟีเลียส่งผลต่อเด็กผู้ชายหรือผู้ชายเท่านั้น
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย เนื่องจากยีนโรคฮีโมฟีเลียเชื่อมโยงกับโครโมโซม x ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศ โรคฮีโมฟีเลียสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิง แต่พบได้น้อย
ธาตุเหล็ก วิตามินบางชนิดและถั่ว สามารถรักาาโรคฮีโมฟีเลีย
ขณะนี้ยังไม่มีวิธีหรือยาที่สามารถรักษาโรคฮีโมฟีเลียให้หายขาดได้ แต่การรักษาในปัจจุบันสามารถทดแทนการขาดแฟคเตอร์ 8 ที่เป็นสาเหตุของการแข็งต ัวของเลือดได้
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียมีการแสดงออกของอาการที่เหมือนกัน
ระดับความรุนแรงและการแสดงอาการของโรคฮีโมฟีเลียแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ เล็กน้อย ปานกลางและรุนแรง ตามปริมาณแฟคเตอร์ 8 ที่ขาดหายไปในเลือดของผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียไม่สามารถเล่นกีฬาได้
ด้วยการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย สามารถออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้ตามปกติ เช่น ว่ายน้ำและวิ่ง แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะกันอย่างรุนแรง
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียไม่สามารถเล่นกีฬาได้
ด้วยการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย สามารถออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้ตามปกติ เช่น ว่ายน้ำและวิ่ง แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะกันอย่างรุนแรง
ฮีโมฟีเลียทุกชนิด เกี่ยวข้องกับการขาดโปรตีนแฟคเตอร์ 8
ฮีโมฟีเลีย เอ ที่พบมากที่สุด เกิดจากการขาดแฟคเตอร์ 8
ในขณะที่ ฮีโมฟีเลีย บี เกิดจากการขาดแฟคเตอร์ 9
และฮีโมฟีเลีย ซี เกิดจากการขาดแฟคเตอร์ 11
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย จะพบความบกพร่องทางร่างกายในที่สุด เนื่องจากส่วนข้อต่อได้รับความเสียหายจากภาวะเลือดออกในร่างกาย
การรักษาที่เหมาะสมด้วยการใช้ยาหรือสารเคมี ทำให้ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเลือดออกในร่างกายที่ส่งผลให้เกิดการกดทับข้อต่อ และนำไปสู่ภาวะข้อต่ออักเสบหรือเสียหายได้
M-TH-00001992
This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid