การบริหารจัดการระดับน้ำตาล ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องฉีดอินซูลิน

1. ระดับน้ำตาลในเลือดสัมพันธ์อย่างไร

เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคไตมีแนวโน้มที่จะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากยาขับออกได้น้อยลง บางรายรับประทานอาหารได้น้อยลงจากภาวะโรคไตเรื้อรังและไตเองก็สามารถสร้างน้ำตาลได้น้อยลง เมื่อเทียบกับคนปกติ ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะมีภาวะน้ำตาลต่ำได้ง่าย ซึ่งภาวะน้ำตาลต่ำ เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด อาทิเช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด นอกจากนี้อาจจะเกิดภาวะผิดปกติของอาการทางระบประสาท  อาทิ มือสั่น เวียนศีรษะ หน้ามึด อ่อนแรง ซึม หมดสติ และชักได้ 

2. การฉีดอินซูลินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ยาอินซูลินเป็นยาที่มีการใช้มากในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดทั้งทางเส้นเลือดและทางหน้าท้อง เนื่องจากไม่สามารถให้ยาชนิดรับประทานได้  นอกจากนี้ยาอินซูลินก็สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณยาได้ง่ายตามระดับน้ำตาลของผู้ป่วย ทำให้ป้องกันภาวะน้ำตาลสูงหรือน้ำตาลต่ำได้แม่นยำ 

3. การงดยาอินซูลินในวันฟอกเลือดจำเป็นหรือไม่

เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในเกิดภาวะความดันต่ำในระหว่างฟอกเลือด ดังนั้นบางราย แพทย์จะแนะนำให้ลดหรืองดฉีดอินซูลินในวันฟอกเลือด เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยใช้ปริมาณยาอินซูลินในขนาดที่สูง การหยุดยาไปเลย อาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงมาก ดังนั้นควรมีการเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลเพื่อปรับยาอินซูลินมากกว่าให้หยุดฉีดไปเลย ในกรณีที่ไม่สามารถติดตามระดับน้ำตาลในเลือดได้ แนะนำให้ลดขนาดยา 25-50% ของขนาดยาเดิม จะปลอดภัยมากกว่า 

4. หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีอันตรายหรือไม่

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงในผู้ป่วยไตเรื้อรัง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะไตเสื่อมเร็วขึ้น จนบางรายอาจจะต้องได้รับการฟอกเลือดในอนาคต และสำหรับผู้ป่วยที่ฟอกเลือดทั้งทางเส้นเลือดและหน้าท้อง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง (HbA1C > 8 %) ก็จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน

5. ระดับน้ำตาลควบคุมได้ยากขึ้นในผู้ป่วยที่ฟอกไตทางหน้าท้อง จริงหรือไม่

ในผู้ป่วยที่ฟอกไตทางหน้าท้องจะได้รับน้ำตาลจากน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไต ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ง่ายและบ่อยกว่าในผู้ป่วยทั่วไป ที่จะได้น้ำตาลจากการับประทานอาหารเท่านั้น ดังนั้นควรแนะนำใหผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการเจาะติดตามระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนความเข้มข้นของน้ำยา เนื่องจากหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้การล้างไตทางช่องท้องมีประสิทธิภาพน้อยลงและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น

6. ระดับน้ำตาลจำเป็นต้องควบคุมในผู้ป่วยเปลี่ยนไตหรือไม่

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนไต จะได้รับยากดภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสที่จะเกิดภาวะน้ำตาลสูงหรือเป็นเบาหวานหลังเปลี่ยนไต ภาวะน้ำตาลสูงจะส่งผลทำให้ไตทำงานแย่ลง ติดเชื้อมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนไต ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

7. เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ควรแก้ไขอย่างไร

หากมีภาวะน้ำตาลต่ำไม่มาก ไม่น้อยกว่า 70 มิลลิกรัม อาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานน้ำหวานในปริมาณมาก แนะนำว่าควรรับประทานเป็นอาหารไปจะดีกว่า เนื่องจากหากรับประทานน้ำหวานในปริมาณมาก น้ำตาลจะพุ่งสูงมากเกินไป ทำให้ควบคุมได้ยาก แต่หากมีอาการ ร่วมกับน้ำตาลต่ำกว่า 55 มิลลิกรัม อาจจะพิจารณาให้น้ำหวานในรูปของรับประทานหรือทางหลอดเลือด แล้วแต่ความรุนแรงของอาการ ซึ่งแนะนำให้แจ้งแพทย์ที่ดูแล เพื่อพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป 

การอ้างอิง:


M-TH-00001173

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy