‘เบาหวาน’ ลดความเสี่ยง รู้ก่อนสาย…แค่ตรวจระดับน้ำตาลเอง

อายุที่มากขึ้นทำให้หลายคนต้องระวังการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้มีภาวะเบาหวานเนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานและการสะสมพฤติกรรมที่เราไม่ทันรู้ตัว จึงเป็นโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าที่เราคิด

โชคดีที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้นด้วยการตรวจระดับน้ำตาลเองที่บ้านทำให้มั่นใจในการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

สมัยก่อนแพทย์มักใช้ SMBG (Self-Monitored Blood Glucose หรือ การติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง) ในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 1 เพื่อปรับการฉีดยาอินซูลินตามระดับน้ำตาล แต่ปัจจุบัน SMBG เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามระดับน้ำตาล ทำให้แพทย์และผู้มีภาวะเบาหวานสามารถเช็กระดับน้ำตาลและแนวโน้มระดับน้ำตาลของตัวเองได้พร้อมกันทันทีแบบ real-time ภายหลังการรับประทานอาหารประเภทต่างๆ ผู้มีภาวะเบาหวานสามารถเห็นข้อมูลได้ทันทีว่าอาหารชนิดใดส่งผลต่อระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นและอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วระดับน้ำตาลในเลือดยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ตามเกณฑ์ที่แพทย์แนะนำ ทำให้สามารถตัดสินใจและเลือกปริมาณอาหารได้เหมาะสมมากขึ้น ซึ่งหลายครั้งพบว่าเมื่อผู้มีภาวะเบาหวานตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเองสามารถช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็น การทานอาหาร การควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น[1]

ทั้งนี้ ผู้มีภาวะเบาหวานควรเช็กระดับน้ำตาลในเลือดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก่อนและหลังอาหาร[4] จากสถิติผู้มีภาวะเบาหวานที่ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองสามารถลดอัตราการตายลงได้ 51% และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัดขาและเท้า ตาบอด ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายลงได้ 32% เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง[3]

เพียงหันมาใส่ใจในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น สังเกตอาหารและปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน การปรับปริมาณการรับประทานอาหารให้เหมาะสม จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจาก ‘เบาหวาน’ เป็นโรคที่สามารถควบคุมให้อยู่ในระยะสงบได้ หากเข้าใจและมีวินัยอย่างสม่ำเสมอ เช่น ความเข้าใจเรื่องการทานอาหารประเภทแป้งหรือของหวาน  การคำนึงถึงปริมาณการทานแป้งเพื่อให้ร่างกายดึงพลังงานจากไขมันมาใช้ได้อย่างสมดุล, การควบคุมช่วงเวลาการทานอาหาร, การออกกำลังกายรวมถึงการนอนหลับให้เพียงพอล้วนส่งผลให้การควบคุมภาวะเบาหวานดีขึ้นได้

แม้ว่าผู้มีภาวะเบาหวานส่วนใหญ่รู้ดีว่าอาหารประเภทใดไม่ควรรับประทาน แต่การเผลอไม่ทันระวังหรือไม่ยอมปรับพฤติกรรมสามารถนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานระยะยาวได้ โดยทั่วไปการพบแพทย์ตามนัดอาจมีระยะห่าง 1-3 เดือน ซึ่งทำให้แพทย์ผู้รักษาได้รับผลตรวจระดับน้ำตาลแบบรายเดือนหรือราย 3 เดือน เพื่อนำไปประเมินการปรับยาซึ่งจะสูงต่ำไม่เท่ากันในแต่ละวัน (ผู้มีภาวะเบาหวานบางคนระวังพฤติกรรมมากเป็นพิเศษก่อนมาพบแพทย์)  การรักษาเบาหวานจึงเป็นการปรับยาตามผลการตรวจประจำเดือนนั้นๆ ทำให้การรักษาคลาดเคลื่อนได้ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองที่บ้าน (SMBG) จะทำให้แพทย์สามารถนำข้อมูลมาประกอบการดูแลและวางแผนการดูแล ช่วยให้แพทย์และผู้มีภาวะเบาหวานเห็นแนวโน้มน้ำตาลร่วมกัน เพื่อปรับโภชนาการและพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการปรับยาเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเป็นประโยชน์กับทั้งแพทย์และคนไข้ทั้งสองฝ่าย

เช็กก่อน ลดเสี่ยง…SMBG หรือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง มีบทบาทเป็นผู้ช่วยแพทย์และผู้มีภาวะเบาหวานอย่างไร?
  1. ติดตามผลแบบ real time ลดความเสี่ยง: การตรวจระดับน้ำตาลสัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 2 ครั้ง (ก่อน/หลังอาหาร) ทำให้มีผลเลือด 8 ครั้ง ใน 1 เดือน ทำให้แพทย์ได้ข้อมูลภาพรวมการควบคุมระดับน้ำตาลในเดือนนั้นๆ ได้น่าเชื่อถือกว่าการตรวจเช็กเดือนละครั้ง

  2. เป็นเครื่องมือในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : การทำ SMBG นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้มีภาวะเบาหวานเข้าใจตัวเองมากขึ้น รวมถึงทราบข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น และเมื่อเข้าใจตัวเองมากขึ้น ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีวินัย

ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องตรวจระดับน้ำตาลทำให้ผู้มีภาวะเบาหวานดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องและใช้ชีวิตง่ายขึ้น เพราะได้รับการพัฒนามาให้ใช้ง่าย สะดวก ทั้งยังแบ่งเบาภาระแพทย์และผู้มีภาวะเบาหวาน รวมถึงช่วยให้ผู้มีภาวะเบาหวานรับประทานอาหารอย่างมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องอยู่ไกล  และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

“เริ่มตรวจระดับน้ำตาลเองตั้งแต่วันนี้”

อ้างอิง:

  1. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560.

  2. สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, เฮนอค นีกาส, ยุพิน ดรชัย, & เพชร รอดอารีย์. (2556). ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้และไม่ใช้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในชุมชนชนบท. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(3), 126-137.

  3. S.Martin, B. Schneider, L. Heinemann, V. Lodwig, H.-J. Kurth, H. Kolb, W.A. Scherbaum: Self-monitoring of blood glucose in type 2 diabetes and long-term outcome: an epidemiological cohort study, Diabetologia 2006: 49:271-278., International Diabetes Federation. (2009). Guideline self-monitoring of blood glucose in non-insulin treated Type 2 diabetes.N.P.:n.p.

  4. International Diabetes Federation. (2009). Guideline self-monitoring of blood glucose in non-insulin treated Type 2 diabetes.N.P.:n.p.

  5. แสงอรุณ สุรวงศ์, & ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2560). ผลของการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(1), 104-116.

BB 32094
M-TH-00003128

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy