ความเชื่อกับความจริงเกี่ยวกับโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
:quality(90)/)
มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรค Haemophilia อยู่หลายประการ ดูด้านล่างเพื่อขจัดความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้น
ความเชื่อ
หากผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียมีเลือดออก เลือดจะไหลไม่หยุดจนเสียชีวิต
ข้อเท็จจริง
ไม่ใช่ทุกคนที่เมื่อมีเลือดออกแล้วจะอันตรายถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียอาจมีอาการฟกช้ำ หรือมีเลือดออกในข้อต่อและกล้ามเนื้อ ซึ่งมักส่งผล
กระทบในระยะยาวหากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ความเชื่อ
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียจะมีอาการเลือดออกภายนอกร่างกายเท่านั้น เช่น จากแผลเปิดหรือรอยถลอก
ข้อเท็จจริง
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียอา จมีอาการเลือดออกภายในร่างกายที่เกิดขึ้นเองได้เช่นกัน เข่า ข้อเท้า และข้อศอก เป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด
ความเชื่อ
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย มักจะมีอายุสั้น
ข้อเท็จจริง
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียที่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี สามารถมีอายุยืนยาวได้เทียบเท่าคนทั่วไป
ความเชื่อ
โรคฮีโมฟีเลีย เอ สามารถดีขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป
ข้อเท็จจริง
โรคฮีโมฟีเลีย เอ เป็นความผิดปกติของอาการเลือดออกชนิดเรื้อรังและเกิดขึ้นตลอดชีวิต มีสาเหตุจากการขาดแฟคเตอร์ 8 ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป
ความเชื่อ
เด็กที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย มีประวัติครอบครัวเป็นโรคฮีโมฟีเลียเสมอ
ข้อเท็จจริง
แม้ว่าตามปกติแล้วโรคฮีโมฟีเลียมีสาเหตุจากพันธุกรรม แต่โรคฮีโมฟีเลียสามารถเกิดขึ้นได้เองในผู้ป่วยหนึ่งในสาม
ความเชื่อ
โรคฮีโมฟีเลียส่งผลต่อเด็กผู้ชายหรือผู้ชายเท่านั้น
ข้อเท็จจริง
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย เนื่องจากยีนโรคฮีโมฟีเลียเชื่อมโยงกับโครโมโซม x ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศ โรคฮีโมฟีเลียสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิง แต่พบได้น้อย
ความเชื่อ
ธาตุเหล็ก วิตามินบางช นิดและถั่ว สามารถรักาาโรคฮีโมฟีเลีย
ข้อเท็จจริง
ขณะนี้ยังไม่มีวิธีหรือยาที่สามารถรักษาโรคฮีโมฟีเลียให้หายขาดได้ แต่การรักษาในปัจจุบันสามารถทดแทนการขาดแฟคเตอร์ 8 ที่เป็นสาเหตุของการแข็งตัวของเลือดได้
ความเชื่อ
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียมีการแสดงออกของอาการที่เหมือนกัน
ข้อเท็จจริง
ระดับความรุนแรงและการแสดงอาการของโรคฮีโมฟีเลียแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ เล็กน้อย ปานกลางและรุนแรง ตามปริมาณแฟคเตอร์ 8 ที่ขาดหายไปในเลือดของผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย
ความเชื่อ
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียไม่สามารถเล่นกีฬาได้
ข้อเท็จจริง
ด้วยการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย สามารถออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้ตามปกติ เช่น ว่ายน้ำและวิ่ง แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะกันอย่างรุนแรง
ความเชื่อ
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียไม่สามารถเล่นกีฬาได้
ข้อเท็จจริง
ด้วยการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย สามารถออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้ตามปกติ เช่น ว่ายน้ำและวิ่ง แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะกันอย่างรุนแรง
ความเชื่อ
ฮีโมฟีเลียทุกชนิด เกี่ยวข้องกับการขาดโปรตีนแฟคเตอร์ 8
ข้อเท็จจริง
ฮีโมฟีเลีย เอ ที่พบมากที่สุด เกิดจากการขาดแฟคเตอร์ 8
ในขณะที่ ฮีโมฟีเลีย บี เกิดจากการขาดแฟคเตอร์ 9
และฮีโมฟีเลีย ซี เกิดจากการขาดแฟคเตอร์ 11
ความเชื่อ
ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย จะพบความบกพร่องทางร่างกายในที่สุด เนื่องจากส่วนข้อต่อได้รับความเสียหายจากภาวะเลือดออกในร่างกาย
ข้อเท็จจริง
การรักษาที่เหมาะสมด้วยการใช้ยาหรือสารเคมี ทำให้ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเลือดออกในร่างกายที่ส่งผลให้เกิดการกดทับข้อต่อ และนำไปสู่ภาวะข้อต่ออักเสบหรือเสียหายได้
M-TH-00001992