ความหวังใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กับนวัตกรรมการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังที่ พร้อมคืน “เวลา” ให้แก่ผู้ป่วย

Read the English version

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นหนึ่งในวิกฤตสุขภาพที่คุกคามประชาชนในประเทศไทยและทั่วโลกมานานหลายปี แต่ทว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 ส่งผลให้ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น และยังเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง ดังนั้นวงการแพทย์ต้องปรับตัวให้ทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีโทรเวชกรรม (Telemedicine) หรือการพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมถึงนวัตกรรมการวินิจฉัยและรักษาที่ช่วยย่นระยะเวลาในโรงพยาบาลให้แก่ผู้ป่วย ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับพาหะหรือเชื้อโรค และยังลดความแออัดในโรงพยาบาลลง

แต่เดิม การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำเป็นวิธีการรักษาที่แพร่หลายที่สุดในการทำเคมีบำบัด ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลานานพอสมควร ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในโรงพยาบาลนานหลายชั่วโมงต่อรอบ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในแง่ของการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและผู้ดูแล รวมถึงในแง่ของการยกระดับระบบการดูแลสุขภาพ ได้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ป่วยมะเร็งเป็นยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งถือเป็นการแพทย์วิถีใหม่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยลดช่วงเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงช่วยบรรเทาความกังวลให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ต้องมาโรงพยาบาลอีกด้วย

พญ.ปิยวรรณ เทียนชัยอนันต์ อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า “จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการบริการในโรงพยาบาลและบุคลากรการแพทย์ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการรักษา โดยผู้ป่วยมะเร็งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนทั่วไป  ปัจจุบันนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อการรักษามะเร็งมีความก้าวหน้าและทันสมัยขึ้นเป็นอย่างมาก อาทิ การรักษาด้วยยามุ่งเป้าที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด HER-2 positive ด้วยการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง นวัตกรรมดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพการรักษาที่ดียิ่งขึ้น โดยมีการรวมยามุ่งเป้าสองชนิดในเข็มเดียวและให้ยาโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ยามุ่งเป้าต่อ HER-2 สองชนิดในเข็มเดียวกันแบบฉีดใต้ผิวหนังนี้ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่ามีประสิทธิภาพการรักษาไม่แตกต่างจากยาแบบให้ทางหลอดเลือดดำ2 โดยยามุ่งเป้าต่อ HER-2 สองชนิดช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเกิดซ้ำของโรค และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด HER-2 positive ทุกระยะได้อย่างมีนัยสำคัญ3-5 นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยประหยัดเวลาในการรับยาได้มากถึง 90% เมื่อเทียบกับการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ จาก 3-4 ชั่วโมงต่อครั้ง เหลือเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ และลดการแออัดในโรงพยาบาล1

ความก้าวหน้าด้านการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดที่ร่วมกันทำงานและส่งเสริมนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพจำเพาะบุคคล ผู้ให้บริการสาธารณสุขจึงสามารถรับมือและจัดการกับภัยคุกคามจากมะเร็งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“โรช ไทยแลนด์ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการวินิจฉัยและการรักษาที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์อันทันสมัย นอกจากนี้ เรายังสร้างความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดันการเข้าถึงการรักษาสำหรับผู้ป่วยในประเทศไทยให้ครอบคลุมและเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งเต้านมซึ่งเป็นโรคที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้และมีอัตราการรอดชีวิตสูง หากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ ” มร.ฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว กล่าวปิดท้า

นวัตกรรมการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมด้วยส่วนผสมของยามุ่งเป้าสองชนิดในเข็มเดียวกันและให้ยาด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ถือเป็นก้าวสำคัญของวิทยาการทางการแพทย์เพื่อยกระดับผลลัพธ์การรักษาให้กับผู้ป่วย ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน เวลากลายเป็นตัวแปรหลักต่อการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ดังนั้นการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลที่ติดตามมาด้วยลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับพาหะหรือเชื้อโรคได้ ขณะเดียวกันการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความคล่องตัวมากขึ้นยังช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาล ทำให้บุคลากรการแพทย์ให้บริการกับผู้ป่วยรายอื่นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย

Reference:

  1. O’Shaughnessy J, Sousa S, Cruz J, et al. Annal Oncol.2020; 31: S306-S307

  2. Tan AR, Im S-A, Mattar A, et al. Lancet Oncol. 2020; (published online Dec21.)

  3. Swain SM, Baselga J, Kim SB, et al. N Engl J Med. 2015; 372:724-734

  4. Gianni L, Pienkowski T, et al. Lancet Oncol 2016; 17: 791–800

  5. Von Minckwitz G, Procter M, et al. N Engl J Med. 2017;377:122-31.

M-TH-00000823

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy