นวัตกรรมยาใหม่เพื่อการรักษามะเร็งตับ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมเพิ่มความหวังในการรักษาของผู้ป่วย

Read the English version

“โรคมะเร็งตับ” ถือเป็นวิกฤตทางสุขภาพอันดับต้นๆ ในประเทศไทยและทั่วโลก[1] จากสถิติเผยว่ามะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตของประชากรไทยเป็นอันดับหนึ่ง มีคนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งตับมากกว่า 23,000 ต่อปี3 นั่นคือในทุกๆชั่วโมง จะมีคนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งตับสูงถึง 2.6 คน ซึ่งตัวเลขนี้ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆปี โดยส่วนใหญ่พบในเพศชายสูงกว่าเพศหญิงถึง 2.3 เท่า2 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับในคนไทยคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทั้งชนิด บี และ ซี3 และอาจเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ เช่น การการรับประทานหารที่มีไขมันสูงจนเกิดภาวะไขมันพอกตับ การดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่เหมาะสมและการบริโภคอาหารที่ไม่ปรุงสุก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้โรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต แต่ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าของนวัตกรรมของยา และการรักษาโรคมะเร็งตับ ซึ่งจะสามารถช่วยชะลอการลุกลามของโรคและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยได้มากขึ้น

ผศ.นพ.สืบพงศ์ ธนสารวิมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคมะเร็ง ภาควิชามะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “มะเร็งตับชนิดที่พบได้บ่อย คือมะเร็งที่เซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma) ในปัจจุบันวิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้ในคนไข้ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ที่นิยมกัน ได้แก่ การให้ยาเคมีบำบัดทั้งทางหลอดเลือด และการให้ยาเคมีบำบัดที่ก้อนมะเร็งโดยตรง, การฉายแสง รวมถึงการใช้ยามุ่งเป้าเพื่อเพิ่มความเฉพาะเจาะจงในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่เป็นยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) ในรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน4 ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาวิธีการรักษาที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และยืดอายุของคนไข้ ”

แม้โรคมะเร็งตับจะมีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่หากได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที ก็สามารถช่วยยับยั้งการลุกลามของโรคและยืดอายุคนไข้ได้นานยิ่งขึ้นได้ สำหรับคนไข้ที่เป็นมะเร็งที่เซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma) ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ของประเทศไทย ได้อนุมัติ นวัตกรรมยารักษามะเร็งตับแบบใหม่ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยนวัตกรรมยาใหม่นี้นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ ที่ทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มอัตราการรอดของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) ในรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทานที่มีอยู่เดิม5

นวัตกรรมยาที่ใช้รักษาแบบใหม่ที่กล่าวถึงนี้ก็คือการใช้ยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ร่วมกับ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดที่คอยให้อาหารแก่ก้อนมะเร็ง (Anti-angiogenesis) ซึ่งทั้งยาทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่าการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดมีผลเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายในการต่อสู้กับมะเร็ง โดยยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัดจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำจัดเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น และยาต้านการสร้างหลอดเลือดจะลดปริมาณหลอดเลือดซึ่งเป็นเส้นทางลำเลียงอาหารไปยังเซลล์มะเร็ง มีผลทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ โดยสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยและช่วยควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามได้ สูงขึ้นถึง 42% และ 41% ตามลำดับเมื่อเทียบกับยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) 5 ซึ่งการใช้ยาดังกล่าวขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษารวมถึงอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อความเหมาะสมและปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด

รศ.นพ. เอกภพ สิระชัยนันท์ นายกสมาคมมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย (Thai Society of Clinical Oncology: TSCO) กล่าวว่า “จากข้อมูลประสิทธิภาพของการใช้ยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ร่วมกับยาต้านการสร้างหลอดเลือด(Anti-angiogenesis) เพื่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่ออกมานั้นถือเป็นข่าวดี ที่จะช่วยเพิ่มทางเลือกเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการได้ต่อไปนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยในอนาคต”

“ปัจจุบันทางมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย (TSCO) ได้ทำการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ตลอดจนผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงค่าใช้จ่ายในมุมของของผู้ป่วย โดยได้รับความร่วมมือจากทางโรช ไทยแลนด์ จำกัด ที่ได้สนันสนุนการเข้าถึงการรักษาดังกล่าว จึงช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลสำคัญเหล่านี้ได้ระหว่างการขึ้นทะเบียนตำรับยา ซึ่งข้อมูลที่ได้ดังกล่าวอาจจะเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการพิจารณาการเบิกจ่ายของการรักษาใหม่นี้ในอนาคต เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป” ผศ.นพ.สืบพงศ์ ธนสารวิมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคมะเร็ง ภาควิชามะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ร่วมกับยาต้านการสร้างหลอดเลือด ถือเป็นความก้าวหน้าของวิทยาการการแพทย์เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการรักษามะเร็งตับในประเทศไทยทำให้คุณภาพชีวิตและอัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยของผู้ป่วยสูงขึ้นได้ในระยะยาว สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่านทางแพทย์ผู้รักษา

การอ้างอิง:

  1. “Cancer.” World Health Organization, World Health Organization, 12 Sept. 2018,

  2. GLOBOCAN. WHO: Liver 2018

  3. “Danger of Liver Cancer.” Danger of Liver Cancer | Bumrungrad Hospital Bangkok, Bumrungrad Hospital Bangkok,

  4. Cancer, Cleveland Clinic. “Sorafenib.” Sorafenib (Nexavar) Chemotherapy Drug Information,

  5. Finn, Richard S. “Atezolizumab plus Bevacizumab in Unresectable Hepatocellular Carcinoma.” The New England Journal of Medicine, 14 May 2020,

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy