เดือนเมษายนของทุกปี เป็นเดือนที่ใครหลายคนเฝ้ารอ เพราะตรงกับเทศกาลสงกรานต์ วันหยุดยาวของประเทศไทย แม้ว่าในปีนี้รัฐบาลจะขอความร่วมมือ งดจัดกิจกรรมที่รวมตัวกันของคนจำนวนมาก ที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ได้แก่ งดสาดน้ำ งดประแป้ง งดจัดคอนเสิร์ต และงดปาร์ตี้โฟมเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่กิจกรรมที่ส่งเสริมประเพณีอันดีงามและพิธีทางศาสนา อย่างพิธีสรงน้ำพระ พิธีรดน้ำดำหัว ไหว้พระขอพร ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นชื่อว่าเทศกาลแล้ว องค์ประกอบหนึ่งที่ดูเหมือนเป็นของคู่กันก็คือ เครื่องดื่มมึนเมาจำพวกแอลกอฮอล์

มีการศึกษาพบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 41-80 กรัมต่อวัน ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ 1.5 เท่า และถ้าดื่มมากกว่า 80 กรัมต่อวัน ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นขึ้นเป็น 7.3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะหยุดดื่มแล้วก็ตาม แต่ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับก็จะไม่ลดลง[1] ข้อมูลสถิติจากกองทุนวิจัยมะเร็งโลกในปี 2561 เผยว่ามะเร็งตับเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงสุดเป็นอันดับที่ ในผู้ชายและอันดับที่ ในผู้หญิงทั่วโลก โดยพบผู้ป่วยใหม่กว่า 840,000 รายในปี 2561 ทั้งนี้ข้อมูลจากการวิจัยระบุว่า ยอดผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทยติดอันดับ ของโลก โดยมีอัตราความชุกของโรคมะเร็งตับอยู่ที่ 21 รายต่อประชากร 100,000 คน [2]

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยว่าในปี 2563 มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบในคนไทยมากเป็นอันดับ 1 แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 16,000 ราย  ซึ่งปัจจัยเสี่ยงประกอบไปด้วย การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและโรคอ้วน การบริโภคแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่เหมาะสมและการสัมผัสกับสารอะฟลาท็อกซิน อาหารที่มีดินประสิว และอาหารหมักดอง ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารต่างๆ

คุณพงศ์พสิน นวลละออ อดีตผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ได้มาบอกเล่าประสบการณ์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาการ แนวทางการรักษา และการใช้ชีวิตหลังจากที่รักษาหายแล้วว่า “ทีแรกผมไปตรวจเจอไวรัสตับอักเสบซีเมื่อปี 2551 กว่าจะรักษาจนค่าไวรัสตับอักเสบซีกลายเป็นศูนย์ ใช้เวลา 2-3 ปี จึงกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไป ทานอาหารตามใจปาก จนไม่นานร่างกายก็เริ่มส่งสัญญาณ ผมเริ่มรู้สึกเจ็บแปลบๆ ใต้ซี่โครงด้านขวา ก่อนจะลามไปที่ไหล่ และง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตัดสินใจไปปรึกษาอาจารย์หมอ หลังวินิจฉัยแล้วแพทย์ยืนยันว่าพบเซลล์มะเร็งที่ตับ ตอนนั้นเป็นช่วงปลายปี 2553 แต่แค่เพียงปีกว่าๆ มะเร็งกลับลุกลามไปถึงระยะสุดท้าย ระหว่างนั้นผมก็เข้ารับการรักษากับอาจารย์หมอมาตลอด จนกระทั่งปลายปี 2555 ผมสังเกตได้ว่าท้องจากที่เคยมีอาการบวม ค่อยๆ ยุบลงทีละน้อย สภาพร่างกายฟื้นฟูขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองย้อนกลับไป ความรู้สึกแรกเมื่อตรวจเจอมะเร็งตับ คือสภาพจิตใจห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง จากที่เคยใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติก็กลับเบื่ออาหาร ถ่ายเป็นสียางมะตอยสัปดาห์ละครั้ง แพทย์ต้องให้มอร์ฟีนทุก 6 ชั่วโมง ในแต่ละวัน ผมโดนฉีด 4 เข็ม แต่มอร์ฟีนเข็มหนึ่งออกฤทธิ์เพียง 2 ชั่วโมง แปลว่าอีก 4 ชั่วโมงต้องทรมานกับความเจ็บปวด นอกจากร่างกายจะได้รับผลกระทบจากโรคแล้ว สภาพจิตใจก็เช่นกัน ตลอดเวลาที่ป่วย สมองครุ่นคิดอยู่เพียงแต่เรื่องเดียวคือเรื่องโรค แวบหนึ่งผมคิดถึงครอบครัวซึ่งเปรียบเหมือนประกายความหวังเล็กๆ แม้ว่าตอนนั้นโอกาสรอดยังดูริบหรี่ แต่ด้วยกำลังใจที่ยังเข้มแข็ง เราจึงบอกตัวเองว่ายังตายตอนนี้ไม่ได้ เราต้องสู้ ผมนึกถึงคนข้างหลังที่คอยดูแล มอบความรัก ความห่วงใย ไม่ทอดทิ้งให้ผมเผชิญหน้ากับโรคร้ายเพียงลำพัง ภรรยายอมหยุดงานเป็นปีเพื่อดูแลผมและยอมขายที่ดินใจกลางเมืองถึง 3 แปลง เพื่อนำมาจุนเจือค่ารักษาและค่าใช้จ่ายภายในบ้าน  

สำหรับประสบการณ์การรักษามะเร็งตับระยะสุดท้าย ตอนนั้นร่ายกายผมอ่อนแอเกินกว่าจะเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แพทย์จึงเริ่มด้วยการฉีดยาเพื่อบล็อกเส้นเลือดซึ่งไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้ก้อนมะเร็งตับเดิมขนาด 21 เซนติเมตรฝ่อลงเหลือเพียง 7 เซนติเมตรเท่านั้น ท้องที่เคยบวมจึงค่อยๆ ยุบลง ต่อมาแพทย์จึงใช้วิธีการจี้ โดยแจ้งให้ผมทราบก่อนถึงความเสี่ยงของการรักษาด้วยแนวทางนี้ว่าตับของคนเรามีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมาย ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดได้ ผมเป็นเคสหนึ่งที่โชคไม่ดีนักเนื่องจากจี้ไปโดนเส้นเลือดแตก ทำให้แพทย์ต้องระงับการรักษาทันทีเพื่อนำผมเข้าไอซียู 10 ชั่วโมงผ่านไป ผมจึงได้ออกจากไอซียูและอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นก็มีโอกาสได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายตับใหม่ ในที่สุดร่างกายก็ฟื้นฟูและหายขาดจากโรคในที่สุด การปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดก็เป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ผมไปพบแพทย์ทุกครั้งตามนัด เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อถนอมตับใหม่ให้ทำงานได้อย่างดีที่สุด ผมอยากฝากถึงผู้ป่วยคนอื่นๆ ที่กำลังต่อสู้กับโรคอยู่ว่าการเป็นมะเร็งไม่ได้แปลว่าต้องเสียชีวิตเสมอไป เราต้องมีความหวังและเชื่อมั่นในความก้าวหน้าทางการแพทย์ “

ปิดท้ายที่ นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute: NCI) กล่าวถึงปัญหาของโรคมะเร็งตับในสังคมปัจจุบัน จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทยที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติเป็นผู้รวบรวม ปัจจุบันพบว่ามะเร็งตับเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตชายไทยเป็นอันดับ และหญิงไทยเป็นอันดับ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบเเพทย์ในระยะลุกลาม อาจจะเนื่องมาจากโรคนี้ไม่เเสดงอาการในระยะเริ่มต้น ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตในเวลาไม่นาน เพราะการรักษาปัจจุบันยังมีข้อจำกัด ประกอบกับข้อมูลที่ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ คือมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20 ในปีพ.. 2564 ยิ่งอาจจะทำให้สถานการณ์โรคมะเร็งตับในประเทศไทยเลวร้ายลง เพราะผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตก่อนวัยอันควรทำให้เกิดความสูญเสียของเเรงงานเเละศักยภาพในการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเเละพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มีการประมาณการว่ามูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์เพียงปัจจัยเดียวก็สูงถึง 11,836 ล้านบาทในเพศชาย เเละ 706 ล้านบาทในเพศหญิง [1]จากสถานการณ์เเละผลกระทบดังกล่าวเราอาจจะต้องพัฒนาประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับให้ดีขึ้นต่อไป เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต”

ณ วันนี้โรคมะเร็งตับจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป คนไทยจำนวนไม่น้อยอาจกำลังเผชิญกับความเสี่ยง ยิ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์รวมถึงงานรื่นเริงที่มีตลอดทั้งปี ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับจะมากหรือน้อยต่างขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ไม่ว่าเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ และการพักผ่อนที่เพียงพอ รวมทั้งการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินความเสี่ยงหรือหาทางป้องกัน แม้มะเร็งตับจะถือเป็นภัยร้ายที่จู่โจมร่างกายอย่างเงียบ ๆ แต่โรคนี้ก็ยังมีโอกาสรักษาหายเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป 

อ้างอิง

  1. “มะเร็งตับ.” หน่วยสารสนเทศมะเร็ง, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์, 19 Jan. 2009,

  2. "Liver Cancer Statistics." World Cancer Research Fund. American Institute for Cancer Research, 2018.

  3. Cancer Preparedness in Asia-Pacific. Progress toward universal cancer control

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid