ทางเลือกการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตามแบบฉบับการแพทย์วิถีใหม่ มุ่งลดความวิตกกังวลในยุค COVID-19

Read the English version

ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก การปรับตัวให้ทันท่วงทีของผู้คน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตและความอยู่รอดปลอดภัย โดยเฉพาะในแวดวงอุตสาหกรรมการแพทย์ หนึ่งในการปรับตัวทางด้านวิทยาการทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งถือเป็นการแพทย์วิถีใหม่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งการลดช่วงเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และบรรเทาความกังวลให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ต้องมาโรงพยาบาล

“การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลโดยตรงถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานหนักขึ้น แนวปฏิบัติสำหรับการแพทย์วิถีใหม่ที่เราควรนำมาใช้มี 3 ประเด็น คือ 1. การจัดลำดับความเร่งด่วนในการรักษาหรือต้องมาพบแพทย์ เพื่อลดจำนวนครั้งที่ต้องมาโรงพยาบาล 2. การปรับวิธีการให้ยาให้สะดวกทั้งแพทย์และพยาบาลเพื่อลดเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด และ 3. การปรับการดูแลผู้ป่วยนอก ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการให้คำปรึกษาและรักษามากขึ้น เช่น การทำเทเลเมดิซีน” ผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ กล่าว

“ในภาวะที่โรงพยาบาลมีทรัพยากรด้านบุคคลากรทางการแพทย์ที่จำกัด การรักษาด้วยยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนังนี้ จึงไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสหรือติดเชื้อไวรัส แต่ยังช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มีเวลามากขึ้นในแง่ของการปฏิบัติการ เพื่อดูแลผู้ป่วยรายอื่น ๆ ทั้งลดจำนวนการใช้เตียงและความแออัดในโรงพยาบาลลงด้วย”

สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป (ESMO) ยังแนะนำแพทย์มะเร็งทั่วโลกให้เตรียมพร้อมรับมือกับวิถีการรักษาแบบใหม่ ที่รวมไปถึงการทำเทเลเมดิซีนในการดูแลอาการและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อลดจำนวนครั้งในการมาที่โรงพยาบาล และหากเป็นไปได้ แพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษาเป็นการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังหรือยาชนิดรับประทาน แทนการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ1

การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง คือการฉีดยาระหว่างชั้นผิวหนังและกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้ใช้ระยะเวลาในการรักษาแต่ละครั้งที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ทั้งยังมีผลการศึกษาทางการแพทย์ในผู้ป่วยมะเร็งที่ยืนยันว่าการรักษาโดยการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเทียบเท่าการรักษาโดยการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ2 โดยการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังสำหรับโรคมะเร็งเต้านม ใช้เวลาเพียง 3.3 นาทีต่อครั้ง ในขณะที่การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำใช้เวลาในการฉีดยาประมาณ 40-90 นาทีต่อครั้ง3

“ผู้ป่วยบางรายที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง 1 ปี วิธีการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง ช่วยประหยัดเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 13 ชั่วโมงต่อผู้ป่วยหนึ่งคน”3 สำหรับการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือด การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังก็สามารถช่วยลดระยะเวลาในการให้ยาของผู้ป่วยได้มากถึง 74%[1]นพ.ชวลิต หล้าคำมี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา โรงพยาบาลยันฮี กล่าว

“การรักษาด้วยวิธีการนี้ ใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างจากการให้เคมีบำบัดแบบปกติ คือมีหัวเข็มที่เล็กกว่า ซึ่งช่วยในเรื่องของความคล่องตัวระหว่างการให้ยา และยังช่วยลดความเจ็บปวด รวมไปถึงการลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าใต้หลอดเลือดดำด้วย[2] ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในเมืองไทย และตอบรับกับมาตรการเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยได้เป็นอย่างดีในยุคโควิด-19”


ปัจจุบัน ผู้ป่วยในสิงคโปร์สามารถเลือกรับการรักษาที่ศูนย์พยาบาลใกล้บ้านได้แล้ว โดยการก่อตั้งโครงการ NCIS-on-the-Go ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทางสถาบันมะเร็ง มหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ นำทีมพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งออกให้บริการแก่ผู้ป่วยใกล้บ้าน เช่น การตรวจเลือด การให้ยา รวมถึงยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ตามศูนย์ที่ทางสาธารณสุขกำหนดไว้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถลดระยะเวลาการเดินทางมาโรงพยาบาล ในขณะที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเทียบเท่ากับการให้บริการภายในโรงพยาบาล นอกจากจะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยแล้ว การให้บริการแก่ผู้ป่วยใกล้บ้านยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ที่โรงพยาบาล โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำสามารถไปรับบริการที่ศูนย์พยาบาลใกล้บ้านของโปรแกรม NCIS-on-the-Go ได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ครอบคลุมและทั่วถึง

“ภาระของโรคมะเร็งในสิงคโปร์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น และอุบัติการณ์ที่มากขึ้นของมะเร็งบางชนิด อย่างไรก็ตามการพัฒนาของการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันทำให้ผู้ป่วยสามารถมีอายุที่ยืนยาวยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความต้องการที่สูงขึ้นในการดูแลรักษาโรคมะเร็งที่ครอบคลุม เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกสบาย” ศาสตราจารย์ ลี ซู ชิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา จากสถาบันมะเร็ง มหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ (NCIS) กล่าว

“โปรแกรม NCIS-on-the-Go นี้เกิดขึ้นเพื่อสนองต่อกลยุทธ์การพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีความยั่งยืนของกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยในประเทศ โดยเรามีแผนการที่จะเพิ่มสถานที่และขยายตัวเลือกการรักษาในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น” 

ยาบางชนิดสำหรับรักษาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่สามารถให้ได้ด้วยการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง นับเป็นความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตวิถีใหม่สำหรับคนไทยและผู้คนทั่วโลก โดยผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาดังกล่าวได้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่านโรงพยาบาล

รับชมไฮไลท์ย้อนหลังการสัมมนาออนไลน์ได้ที่นี่

Reference

  1. Burki, T. K. (2020). Cancer guidelines during the COVID-19 pandemic. The Lancet Oncology, 21(5), 629-630. doi:10.1016/s1470-2045(20)30217-5

  2. Hanah: Ismael G, et al. Lancet Oncol 2012 and SafeHer: Jung KH, et al. Abstract 1956, Mon 28 Sep, 9:15–11:15

  3. Pivot X, et al. ESMO 2012 (Abstract 272P)

  4. PLOS ONE 2016; 11(6): e0157957

  5. PrefHer: Pivot X, et al. SABCS 2013 (Abstract P4-12-11)

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy