Roche x Life Talk Series II - ภารกิจพิชิตมะเร็งตับ : ภัยเงียบอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทย

Read the English version

ตุลาคม 2564 ท่ามกลางความรุนแรงของโรคระบาดโควิด-19 ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับภาวะสุขภาพจากโรคมะเร็งที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งตับ ที่เป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตของคนไทยสูงเป็นอันดับ 1 ล่าสุด บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมการดูแลสุขภาพและการตรวจวินิจฉัย ที่อยู่คู่คนไทยเพื่อสนับสนุนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตลอด 50 ปีที่ผ่านมา และเพื่อสานต่อความตั้งใจนี้ พร้อมทั้งเฉลิมฉลองการครบรอบ 125 ปีของการก่อตั้งบริษัท จึงได้จัดการเสวนาในหัวข้อ “ภารกิจพิชิตมะเร็งตับ : ภัยเงียบอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทย” เพื่อนำเสนอความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตับให้แก่คนไทย โดยภายในงานได้รับเกียรติจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา ตัวแทนภาครัฐ รวมถึงผู้สุ่มเสี่ยงและผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ มาร่วมพูดคุยเจาะลึกถึงประเด็นต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์มะเร็งตับของไทยในปัจจุบัน สาเหตุการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วย แนวทางการรักษา ความก้าวหน้าของยา โครงการสนับสนุนจากรัฐ และความพยายามเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่ดีขึ้นในอนาคตต่อไป

คุณฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว เปิดเผยถึงบทบาทและความมุ่งมั่นของโรชในภารกิจพิชิตมะเร็งตับที่สอดคล้องกับสถานการณ์มะเร็งตับของไทยในปัจจุบันว่า “คนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งตับปีละกว่า 30,000 คน โดยมีคนไทยที่เสียชีวิตจากมะเร็งตับมากถึง 3 คน ต่อ 1 ชั่วโมง ซึ่งหากเปรียบกับโรคระบาดโควิด-19 จะพบว่า ในช่วงเวลา 22 เดือนที่ผ่านมา โควิดได้คร่าชีวิตคนไทยประมาณ 18,799 คน ในขณะที่มะเร็งตับคร่าชีวิตผู้ป่วย 26,704 คน จาก 27,394 อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาแค่ 12 เดือนเท่านั้น โรช จึงทุ่มทุนวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการรักษา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งตับได้อย่างถูกต้อง และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและทุก ๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไป เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อย่างที่ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จมาแล้วกับมะเร็งเต้านม ที่เราสามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ครึ่งหนึ่งของการเกิดอุบัติการณ์ทั้งหมด

นอกจากนี้ นพ.ภาสกร วันชัยจิระบุญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ รพ.พระปกเกล้า ด้านศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านมะเร็ง ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งตับว่า  มะเร็งตับส่วนใหญ่เกิดจาก โรคตับแข็ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลอฮอล์เป็นประจำ และเกิดจากสาเหตุตับอักเสบจากไขมันพอกตับ ภาวะอ้วน รวมถึงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี และผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีพยาธิทำให้ท่อน้ำดีอักเสบ ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับ ซึ่งเป็นภัยเงียบ เพราะส่วนใหญ่ไม่มีอาการในระยะแรก พอมาตรวจเจอในระยะท้าย ๆ ต้องรักษาตามอาการแล้ว เพราะตัวเนื้อตับไม่ไหว การรักษาอาจไม่เป็นผล ซึ่งจะมีโอกาสมีชีวิตต่อประมาณเพียง 3 เดือน ทั้งนี้ แนะนำให้ทุกคนตรวจร่างกายอย่างละเอียด ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบและฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิ เพื่อป้องกันมะเร็งตับไม่ให้เกิดขึ้นกับเรา”
 

ในด้านความก้าวหน้าและการสนับสนุนจากทางภาครัฐ นพ.รัฐพล  เตรียมวิชานนท์  ผู้ทรงคุณวุฒิ สนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า “ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา สปสช.ได้เปิดตัวโครงการ Cancer Anywhere เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งด้านค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และเทคโนโลยีการรักษา โดยจากข้อมูลสถิติล่าสุด มะเร็งกลายเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่ลดลงเลยถึงแม้จะเกิดโควิดอยู่ จึงเป็นภัยร้ายที่น่ากลัว ภาครัฐ โรงพยาบาล และองค์กรอื่น ๆ ทุกสังกัดทำกิจกรรมร่วมกันในโครงการนี้ จะมีพยาบาลคอยดูคิวผ่าตัด ฉายแสง ทำเคมีบำบัด ทำให้สามารถรักษาได้เร็ว ไม่ต้องเสี่ยงดวงและไม่ต้องเสียเงิน ทางเราจะมีเครือข่ายส่งต่อระหว่างกันในแต่ละโรงพยาบาลผ่าน สปสช. ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องรอนาน และเข้าถึงการรักษาได้เร็วขึ้น”
 

ในฐานะอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา นพ.ภาสกร กล่าวว่า ในประเทศไทยมีนวัตกรรมการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับด้วยยารักษาครอบคลุมทุกชนิดแล้ว โดยมีการรักษาที่แตกต่างกันในผู้ป่วยมะเร็งตับในแต่ระยะ และจากสถิติที่เคยศึกษาในปี 2012* ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาในระยะต่างๆ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามระยะโรค ผู้ป่วยมะเร็งตับจะมีอายุยืนยาวขึ้นในแต่ระยะโดยมีนัยยะสำคัญดังนี้

  • ระยะที่ 1 (ระยะ A)  มีก้อนเล็กๆ หากคนไข้ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เปลี่ยนตับ หรือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงละลายก้อนเล็กๆ ที่เพิ่งเริ่มเป็น จะสามารถยืดชีวิตผู้ป่วยยาวขึ้นได้ถึง 120 เดือน จาก 30 เดือน ในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาใดๆ

  • ระยะที่ 2 (ระยะ B) หรือระยะกลางที่ก้อนเริ่มใหญ่ขึ้น หากได้รับการสวนอุดเส้นเลือด จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 26 เดือน จาก 15 เดือน

  • ระยะที่ 3  (ระยะ C) ระยะกระจายแต่เนื้อตับยังพอรักษาได้ หากใช้ยานวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การใช้ยาร่วมกันหลายๆ สูตร ตั้งแต่การให้ ยามุ่งเป้า ร่วมกับยาภูมิคุ้มกันบำบัด ออกฤทธิ์ที่เส้นเลือดโดยตรง ผู้ป่วยจะมีโอกาสยืดชีวิตยาวขึ้นถึง 19 เดือน จาก 7 เดือน1

  • ระยะที่ 4  ระยะสุดท้าย (ระยะ D) การทำงานของเนื้อตับพร่องไปเยอะมากแล้ว จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ตั้งแต่การฉายแสง ให้มอฟีนแก้ปวด หรือใช้ยาร่วม สามารถยืดอายุผู้ป่วยได้ประมาณ 3 เดือน จาก 1 เดือน


  • “ตามสถิติของคนไทย* ผู้ป่วยมะเร็งตับมักเป็นเพศชาย จะเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป เป็นวัยแรงงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 31 ปี ถึง 60 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น จะสามารถผลักดันประเทศต่อไปได้ นพ.ภาสกร” กล่าวเสริม

ทั้งนี้ คุณหัทยา วงษ์กระจ่าง  ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลใกล้ชิดของผู้ป่วยมะเร็งตับ ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณตั้ว ศรัณยู วงษ์กระจ่าง อดีตนักแสดงและผู้กำกับมากฝีมือ ผู้ป่วยที่ตนเคยดูแลว่า “พี่ตั้วเป็นไวรัสตับอักเสบบีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่แสดงอาการเจ็บป่วยเลยแม้แต่น้อย แต่พอล้มลงไปครั้งหนี่งเลยได้มีโอกาสไปตรวจร่างกายอย่างละเอียด จนพบว่าเป็นมะเร็งตับระยะที่ 4 เข้าไปแล้ว จึงได้แต่รักษาตามอาการ เช่น รักษาก้อนตับส่วนที่ยังดีอยู่ ฉีดยาเพื่อไม่ให้ลุกลาม เชื่อฟังหมอและพักผ่อนเยอะ ๆ นับตั้งแต่เรารู้ผลการวินิจฉัย ใช้ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมดประมาณ 6 เดือนเท่านั้น ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต” ดังนั้นการตรวจสุขภาพ ดูแลความเครียด ดูแลร่างกายเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก 

ขณะเดียวกัน คุณมยุริญ ผ่องผุดพันธ์  ในฐานะผู้เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง ได้กล่าวย้ำเตือนว่า เมื่อทราบว่าตนเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงก็รีบลดพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดภาวะตับแข็งทันที เช่น เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่เข้าร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ลดการบริโภคอาหารไขมันสูงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไขมันพอกตับ และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกันเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ ซี เป็นต้น


“ทุกวันนี้ สำนักงานประกันหลักสุขภาพมีการร่วมมือกับภาคเอกชน การพิจารณาสิทธิ์การรักษาเรื่องยา และเทคโนโลยีใหม่ๆจะมีคณะกรรมการพิจารณาอย่างรอบครอบ เพื่อศึกษาเรื่องความคุ้มค่า (cost-effectiveness) ของการนำนวัตกรรมการรักษาที่ก้าวหน้ามาสู่คนไทย และเพิ่มการเข้าถึงโอกาสการรักษาด้วยยานวัตกรรมที่ได้รับการอนุมัติโดย อย. การป้องกันเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ตั้งแต่การฉีดวัคซีน และการดูแลพฤติกรรมของเรา สุดท้ายนี้เสียงของประชาชนและผู้ป่วยทุกคนมีความหมายในการผลักดันให้รัฐบาลพิจารณา เพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต” นพ.รัฐพล  กล่าวปิดท้าย


Play back

อ้างอิง

  1. s41572-020-00240-3

M-TH-00001549

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy