เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด HER2-positive จากการอนุมัติการใช้ยามุ่งเป้าในผู้ป่วยสิทธิข้าราชการ

Read the English version

ข่าวดี เพื่อโอกาสในการรอดชีวิตที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด HER2-positive ในระยะเริ่มต้นและระยะแพร่กระจาย หลังกรมบัญชีกลางประกาศอนุมัติเพิ่มรายการยามุ่งเป้าในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมตัวใหม่เพื่อใช้ร่วมกับตัวเก่าเข้าในระบบการเบิกจ่ายยาของข้าราชการ (OCPA) เมื่อเดือนมิถุนายน 2563 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป 

วิธีการรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ขึ้นกับประเภทและระยะของมะเร็งที่พบ โดยจากสถิติพบว่า ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มักจะเป็นแบบมีโปรตีน HER2-positive ส่งผลให้มีความรุนแรงของโรคมากขึ้น1  ทั้งนี้จึงมีการพัฒนาตัวยามุ่งเป้าตัวใหม่ให้เข้ามามีส่วนช่วยในการรักษา โดยพบว่าการรักษาด้วยตัวยามุ่งเป้าตัวใหม่ควบคู่กับตัวยามุ่งเป้าตัวเดิมที่มีอยู่ประกอบกับการทำเคมีบำบัดจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองต่อการรักษาที่ดีกว่าการใช้ตัวยามุ่งเป้าตัวเดิมที่มีอยู่ เพียงอย่างเดียว ซึ่งนำไปสู่ผลดีในระยะยาวและเพิ่มอัตราการรอดชีวิต โดยตัวยามุ่งเป้าตัวใหม่ถือเป็นตัวยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า และสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งในระยะแรกก่อนผ่าตัด ไปจนถึงระยะแพร่กระจาย เมื่อใช้การรักษาควบคู่กันทั้งสามขั้นตอน จะส่งผลให้ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ลดขนาดของก้อนมะเร็ง รวมไปถึงลดโอกาสของการกลับมาของมะเร็งหลังผ่าตัด ไปจนถึงเพิ่มโอกาสการหายขาดของโรคมะเร็งเต้านมได้ในบางรายด้วย

นพ. ไนยรัฐ ประสงค์สุข ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า “การรักษาโรคมะเร็งในอดีตคือการให้ยาเคมีบำบัด แต่วิธีการนี้เป็นการฆ่าเซลล์อย่างไม่จำเพาะเจาะจง ทำให้ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอย่าง คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาแนวทางการรักษา โดยการใช้ตัวยามะเร็งแบบมุ่งเป้าร่วมกันสองตัว ร่วมกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งตัวยามุ่งเป้าจะมีความจำเพาะเจาะจงในการกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติในร่างกาย ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อย และมีผลการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่สี่ที่ได้รับการทำเคมีบำบัดควบคู่กับตัวยามุ่งเป้าทั้งสองตัว สามารถยืดระยะเวลาที่มีชีวิตรอดโดยเฉลี่ยได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ”1 กรมบัญชีกลางได้พิจารณาเพิ่มตัวยาชนิดนี้ในระบบ OCPA สำหรับเบิกจ่ายตรงในผู้ป่วยโรคมะเร็งสิทธิข้าราชการ มีผลให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสามารถเข้าถึงยาทั้งสองชนิดได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย “มะเร็งเต้านมถือเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย ซึ่งการรักษาแต่ละครั้งนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง กรมบัญชีกลางเห็นความสำคัญและใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ตัวยาทั้งสองชนิดนี้จะเข้ามามีส่วนช่วยให้ก้อนมะเร็งยุบตัวได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ในตอนแรก มีโอกาสในการผ่าตัดเอาออกได้หมดและหายขาดจากโรคได้สูงขึ้นตามไปด้วย1” นพ. ไนยรัฐ กล่าวเสริม

นางรัตนาภรณ์ โพธิประสาท ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 ได้เล่าถึงประสบการณ์ต่อสู้กับโรคหลังตรวจพบในปี 2558 และสิทธิข้าราชการที่ตนได้รับ ซึ่งมีส่วนช่วยในการแบ่งเบาภาระในส่วนค่าใช้จ่ายให้กับตนเองและครอบครัว “พอได้ทราบข่าวว่ากรมบัญชีกลางอนุมัติเพิ่มรายการยามุ่งเป้าตัวใหม่เพื่อใช้ร่วมกับยามุ่งเป้าตัวเดิม ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ในสิทธิข้าราชการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เราจึงรู้สึกดีใจแทนผู้ป่วยสิทธิข้าราชการทุกคน เพราะค่าใช้จ่ายของยาค่อนข้างสูง จึงอยากขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการผลักดันให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น” นางรัตนาภรณ์ กล่าว

"ตอนแรกคิดว่าขั้นตอนการรักษามะเร็งเต้านมจะทำให้มีอาการข้างเคียง ร่างกายป่วยทรุดโทรม แต่พอได้รับการรักษาด้วยตัวยามุ่งเป้า ปรากฏว่าอาการดีขึ้นมากตามลำดับ และตนโชคดีที่ไม่มีผลข้างเคียงจากการรักษา ทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติในที่สุด” 

ในระยะแรกมะเร็งเต้านมมักจะไม่แสดงอาการ ทำให้ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่ออาการของโรคอยู่ในระยะแพร่กระจายแล้ว ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุด คือการคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเองอยู่สม่ำเสมอ โดยการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง หากพบเจอความผิดปกติควรมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม ทั้งนี้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้มีการแนะนำว่าผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนตั้งแต่อายุ 40-45 ปีขึ้นไป ควรมีการคัดกรองและตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยลดอัตราการพบมะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย และยังเพิ่มอัตราการรอดชีวิตหรือหายขาดจากโรคมะเร็งเต้านมได้ 

อ้างอิง

  1. Swain SM, et al. N Engl J Med 2015; 372:724–734

  2. Gianni L, et al. Lancet Oncol 2016; 17:791–800

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy