มะเร็งตับ

Read the English versionมะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ในประเทศไทย

มะเร็งชนิดนี้มีอุบัติการณ์สูงสุดในผู้ชายและมะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma, HCC) เป็นโรคมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิที่พบส่วนใหญ่

ในแต่ละปีมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับมากกว่า 750,000 รายทั่วโลก ซึ่งพบโรคระยะสุดท้ายบ่อยที่สุด

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus, HBV) เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งเซลล์ตับในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก

  • ในประเทศสหรัฐอเมริกาและบางประเทศในยุโรป มีอุบัติการณ์และจำนวนการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

  • ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเพิ่มขึ้นของมะเร็งชนิดนี้เร็วกว่าโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยเพิ่มเป็นสองเท่านับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอาหารที่มีไขมันสูง และโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทั่วโลก

  • โรคตับอักเสบบีและซี     

  • อาหารที่มีไขมันสูงและโรคอ้วน

  • แอลกอฮอล์             

  • สารอะฟลาท็อกซิน (เชื้อราที่เป็นสารก่อมะเร็งที่พบในอาหารปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้าว)

โรคมะเร็งเซลล์ตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงระยะลุกลามของโรค แต่ในบางคนอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้:

  • ปวดท้องหรืออาการกดเจ็บ

  • ฟกช้ำหรือเลือดออกง่าย

  • ท้องโต

  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ดีซ่าน

โปรแกรมการเฝ้าระวังช่วยให้การรอดชีวิตดีขึ้น

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับอาจได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ที่มีความไวเพียงพอสำหรับการตรวจหาก้อนขนาดเล็กในตับหรือได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาระดับโปรตีน (AFP)

หากสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับ จะทำการวินิจฉัยอื่น ๆ ได้แก่:

  • ซีทีสแกนบริเวณช่องท้อง

  • เอ็มอาร์ไอสแกนบริเวณช่องท้อง

  • การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากตับ

การรักษาผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับทุกระยะมีอยู่อย่างจำกัดและยิ่งน้อยลงเมื่อได้รับการวินิจฉัยที่ระยะลุกลาม ความจริงแล้วผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับระยะลุกลามน้อยกว่า 50% จะมีชีวิตรอดนานกว่าหนึ่งปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย

  • การผ่าตัดเพื่อนำก้อนมะเร็งออก      

  • การฉายรังสี

  • การปลูกถ่ายตับ                       

  • การให้ยาเคมีบําบัดผ่านทางสายสวน (Transarterial chemoembolization)

  • ยาเคมีบำบัด                  

  • ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส  (Tyrosine kinase inhibitors)

  • ยาในกลุ่มยับยั้งจุดตรวจสอบภูมิคุ้มกัน (Immune checkpoint inhibitors) ซึ่งมุ่งเป้าไปที่โปรตีนพีดี-แอล1 (PD-L1) และพีดี-1 (PD-1)

มุมมองในอนาคตสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับ แม้ว่าอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเซลล์ตับที่สูง ผู้ที่เป็นโรคยังคงมีทางเลือกการรักษาน้อยและอัตราการรอดชีวิตต่ำยังอยู่ในระหว่างการศึกษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับ

References

  1. WHO: Globocan 2018 – Liver cancer factsheet. [Internet; cited 2019 Dec 6] Available from:

  2. Llovet J, et al. Hepatocellular carcinoma. Nat Rev Dis Primers. 2016;2:16018.

  3. Dimitroulis D et al. From diagnosis to treatment of hepatocellular carcinoma: An epidemic problem for both developed and developing world. World J Gastroenterol. 2017;23(29):5282-5294.

  4. Yang JD, et al. A global view of hepatocellular carcinoma: trends, risk, prevention and management. Nature Reviews . 2019; 16:589-604

  5. Tanaka M, et al. Hepatitis B and C Virus Infection and Hepatocellular Carcinoma in China: A Review of Epidemiology and Control Measures. J Epidemiol. 2011;21(6):401-416.

  6. Islami F, et al. Disparities in liver cancer occurrence in the United States by race / ethnicity and state. Ca CancerJ Clin. 2017;67:273–289.

  7. Pimpin L, et al. Burden of liver disease in Europe: Epidemiology and analysis of risk factors to identify prevention policies.J Hepatol. 2018;69:718–735.

  8. WHO – Obesity and overweight. [Internet; cited 2019 July 24] Available from:

  9. Medline. [Internet; cited 2019 July 24]. Available from:

  10. Giannini G, et al. Prognosis of untreated hepatocellular carcinoma. Hepatology. 2015;61(1):184-190.

  11. Medscape. [Internet; cited 2019 July 24]. Available from:

  12. Marrero K, Kulik L, et al. Diagnosis, staging, and management of hepatocellular carcinoma: 2018 practice guidance by theAmerican Association for the Study of Liver Diseases. Hepatology. 2018;68(2):723-750.

  13. Wu Q, Qin S. Features and treatment options of Chinese hepatocellular Carcinoma. Chin Clin Oncol. 2013;2(4):38.

  14. Okusaka T, Ikeda M. Immunotherapy for hepatocellular carcinoma: current status and future perspectives.

M-TH-00000671

รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโรคมะเร็ง

ดูรายละเอียดโรคมะเร็ง

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy