มะเร็งรังไข่

รังไข่ (Ovary) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานสองข้างของ มดลูก มีหน้าทีผลิตไข่ (Egg/Ovum) สําหรับใช้ในการสืบพันธุ์ไข่ที่ถูกผลิตมาจะเดินทางจากรังไข่ผ่านท่อนําไข่ (Follopian Tubes) ไปที่มดลูก (Uterus) เพื่อที่จะเกิดการ ปฏิสนธิและเติบต่อเป็นตัวอ่อนต่อไป

มะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากการผิดปกติของเซลล์ที่แบ่งตัวต่อเนื่องโดยไม่สามารถควบคุมได้

มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่ เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ (Ovary) หรือท่อนําไข่ (Fallopian Tube) ทําให้รังไข่มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดมีการแพร่ กระจาย ซึ่งมักกระจายไปตามเยื่อบุช่องท้องหรือเข้าสู่กระแสเลือดหรือทางเดินนํ้าเหลือง จนไปปรากฏยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อุ้งเชิงกราน, ปอดหรือตับ เรียกมะเร็ง รังไข่ระยะนี้ว่า “ระยะแพร่กระจาย (Metastasis)”

สาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งรังไข่ยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่แต่ก็ยังมีผู้ปู่วยยบางรายที่เป็นโรคโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ

  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งโดยเฉพาะมารดาพี่สาว/น้องสาว

  • อายุที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี มีประวัติเคยเป็น

  • มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้ขึ้นไป พี่สาว/น้องสาว

  • มีประวัติเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ (endometriosis) หรือช็อคโกแลตซิสต

  • รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานาน

  • การสูบบุหรี่

มะเร็งรังไข่ระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม

  • เบื่ออาหาร   

  • คลื่นไส้อาเจียน   

  • น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ  

  • ปัสสาวะบ่อย

  • อาหารไม่ย่อยท้องอืดท้องเฟ้อ   

  • รู้สึกเหนื่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ   

  • ท้องเสียหรือท้องผูกเรื้อรัง

  • รู้สึกปวดท้องหรือปวดในอุ้งเชิงกราน     

  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

  • รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง  

  • รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังรับประทานอาหาร

อาการทั้งหลายเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งรังไข่หรืออาจเป็นโรคอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุของอาการต่างๆ ต่อไป

ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองเฉพาะสำหรับการป้องกันมะเร็งรังไข่
เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้น วิธีที่พอจะช่วยให้พบรอยโรคแต่เนิ่นๆ ได้แก่

  • ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอดเพื่อดูลักษณะและขนาดของรังไข่รวมทั้ง ปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่

  • ใส่ใจสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

  • ตรวจภายในประจำปี

  • ตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารที่สร้างจากมะเร็งรังไข่ คือ สาร CA125 

*ตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารที่สร้างจากมะเร็งรังไข่ คือ สาร CA125 ซึ่งอาจจะสูงขึ้นในมะเร็งรังไข่บางชนิดด้วยความระมัดระวังเพราะค่านี้อาจปกติในมะเร็งรังไข่บางชนิด และ อาจจะสูงขึ้นได้ในภาวะ เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ตับอักเสบ การอักเสบในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุมดลูเจริญผิดที่เนื้องอกของมดลูก ตั้งครรภ์และการมีประจำเดือน เป็นต้น

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในกาเกิดโรคมะเร็งรังไข่ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อจะดำเนินการค้นหามะเร็งตั้งแต่เริ่มแรกแพทย์และทีมผู้ดูแลสุขภาพจะเป็นผู้แนะนำถึงการตรวจต่างๆ เวลาที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัย รวมถึงการติดตาม
เนื่องจากอาการนำของโรคมะเร็งรังไข่ไม่จำเพาะเจาะจง และมีความคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น ระบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ตรวจวินิจฉัยได้ล่าช้าและมัตรวจพบเมื่อโรคมีการลุกลามออกไปทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

  1. การซักประวัติครอบครัว ประวัติทางพันธุ์กรรม หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่หรือเต้านมให้ตรวจพันธุ์กรรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

  2. ตรวจร่างกายและตรวจภายใน เพื่อตรวจหารอยโรคก้อนมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเช่น หากพบว่ามีก้อนในอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณปีกมดลูก

  3. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) มีประโยชน์ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ในระยะแรก ใช้เพื่อตรวจหาลักษณะและตำแหน่งของตัวก้อน

  4. การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) เชน่ CA-125 หรือชนิด อื่นตามข้อบ่งชี้ เช่น CA19-9, CEA, HE4

  5. การตรวจด้วยรังสีวินิจฉัย เช่น เอกซเรย์ปอด CT หรือ MRI ช่วยในการวินิจฉัยและดูการแพร่กระจายของโรค เพื่อวางแผนการรักษา

  6. การตรวจชิ้นเนื้อ ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)

ระยะที่ 1: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง

ระยะที่ 2: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่ กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ รังไข่ แต่ยังอยู่ภายในเยื่อบุอุ้งเชิงกราน

ระยะที่ 3: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเยื่อบุช่องท้องด้านบนหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง

ระยะที่ 4: เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ตับ ปอด เป็นต้น

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ข้นึ อยู่กับปัจจัยหลายประการรวมถึงชนิดของมะเร็งรังไข่,ตำแหน่ง ที่อยู่ ความรุนแรงของโรค และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย การพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะตัดสินใจ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้การรักษาโดยกาผสมผสานกันของการผ่าตัด และการให้ยาเคมีบำบัด

สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ การเลือกยาในการรักษามะเร็งนั้น อาจมีความแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน เพราะถึงแม้ว่าคนไข้จะเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันแต่ลักษณะการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งอาจมีความแตกต่างกัน

ดังนั้นการตรวจหาการกลายพันธุ์ในเซลล์มะเร็งของคนไข้ด้วย การตรวจยีนมะเร็งอย่างครอบคลุม (Comprehensive Genomic Profiling) จะช่วยให้แพทย์และคนไข้สามารถร่วมกันวางแผนการรักษาและเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดกับคนไข้ได้อย่างเหมาะสม4-6

การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งสมควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางมะเร็ง นรีเวช จุดมุ่งหมายหลักของการผ่าตัดคือ เอาก้อนมะเร็งออกจากตัวผู้ป่วยให้มากที่สดุ ซึ่งลักษณะการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวก้อน ต่ำแหน่งของตัวก้อนบริเวณเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไป

หากแพทย์วินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตในรังไข่ยังไม่มีการลุกลามมากจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆ ออกโดยส่วนมากผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่มักได้รับการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะเหล่านี้ออก ได้แก่ รังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่ มดลูก รวมถึงบริเวณปากมดลูกอาจผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองและเยื่อบุช่องท้องออกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ยาเคมีบำบัดเป็นการใช้ยา เพื่อทำลายหรือยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วทั้งร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเซลล์ปกติของร่างกาย เช่น ผม เล็บ เม็ดเลือด เยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น

ในกรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มจริงๆ ไม่มีการแตกของก้อนยังไม่มีการแพร่กระจายไปนอกรังไข่ การผ่าตัดอย่างเดียวอาจเพียงพอในการรักษาโดยไม่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ในผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้วผู้ป่วยมักจะต้องได้รับยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัดเรียกว่า “การรักษาเสริมหลังการผ่าตัด” เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ กรณีนี้เป็นการรักษาเพื่อลดโอกาสของการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงช่วยเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยด้วยนอกจากนี้ยาเคมีบำบัดยัง ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในระยะแพร่กระจายหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เพื่อหยุดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งรวมทั้งบรรเทาอาการหรือความทรมานจากโรคมะเร็งรังไข่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด และเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยให้นานขึ้น

ผลข้างเคียงทั่วไปของยาเคมีบำบัด เช่น เบื่ออาหาร, คลื่นไส้อาเจียน, ผมร่วง, เหนื่อยล้า,โลหิตจาง, เกล็ดเลือดต่ำ, ติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น

ยาแบบมุ่งเป้าเป็นการรักษาโดยการใช้ยาหรือสารอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งและก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ปัจจุบันยารักษาแบบมุ่งเป้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  • ยากลุ่ม Anti-angiogenesis ท่อี อกฤทธ์ิยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่มาเลี้ยก้อนมะเร็ง และลดการสร้างน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของยาฉีด

  • ยากลุ่ม PARP inhibitor ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการซ่อมแซมรหัสพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของยารับประทาน

การใช้ฮอร์โมหรือสารต้านฮอร์โมน เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งอาจมีผลในการช่วยชะลอหรือยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ อาจใช้ในการรักษาแบบประคับประคอง

ผู้ป่วยหลังการรักษาจะได้รับการติดตามโดยแพทย์ผู้รักษาเพื่อดูแลสุขภาพต่อไปการตรวจติด ตามผลจะถี่หรือบ่อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วยโดยปกติหลังการรักษาควรพบแพทย์ทุก 3 เดือน ใน 2 ปีแรกซึ่งมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงสุด จากนั้นเป็นทุก 6 เดือ น การติดตามผลโดยปกติจะใช้การติดตามอาการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ตรวจเลือดเพื่อหาสารติดตามผลมะเร็ง เอกซเรย์ และอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาระยะเวลาตามความเหมาะสม.

Reference

  1. American Cancer Society. Ovarian Cancer. Available at:Last accessed December 2018

  2. The National Comprehensive Cancer Network, Inc. NCCN Guidelines for Patients®OvarianCancer Version 1.2017. Available at: https://www.nccn.org/patients/guidelines/ovarian/index.html.

    Last accessed December 2018

  3. European Society for Medical Oncology (ESMO). ESMO Patient Guide Series “What is Ovarian Cancer”. Available at:Last accessed December 2018

  4. Heim D et al. Int J Cancer 2014; 135: 2362–2369

  5. Baumgart M et al. Am J Hematol Oncol 2015: 11: 10–13

  6. Schwaederle M, Kurzrock R. Oncoscience 2015; 2: 779–780.  

NPM-TH-0516-04-2020

รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโรคมะเร็ง

ดูรายละเอียดโรคมะเร็ง

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy