เมื่อกล่าวถึงการรักษาปัจจุบัน วิธีที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือ ผ่าตัด เคมีบำบัด และฉายแสง โดยบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับการรักษามะเร็งแนวทางใหม่อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการรักษาต่อผู้ป่วย

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมเพื่อให้เซลล์ภูมิคุ้มกันนี้ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง

วิธีการนี้รักษามะเร็งโดยเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวเพื่อให้สามารถจับ สังเกต และทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ เพื่อช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น

จากหลากหลายวิธีในการรักษามะเร็ง ปัจจัยหนึ่งที่แพทย์ใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับระยะมะเร็งในผู้ป่วยแต่ละคน กล่าวคือ การผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยในระยะที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจาย การฉายแสงและเคมีบำบัดมีผลข้างเคียงคือทำลายเซลล์ร่างกายที่ปกติไปด้วย ทำให้ทางการแพทย์ค้นคว้าวิจัยวิธีการรักษาอื่น ๆ และจากการศึกษาพบว่าการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้น การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจึงเป็นอีกทางเลือกการรักษาหนึ่งที่บทความนี้หยิบยกนำมากล่าวถึง

ภูมิคุ้มกันบำบัดมีหลากหลายวิธีในการนำสารกระตุ้นเข้าสู่ร่างกายเพื่อรักษามะเร็งชนิดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีการทำงานกับกลไกร่างกายเพื่อทำการรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยดังนี้

  1. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody)  คือ
    • การให้ยาสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีที่มีความจำเพาะกับเซลล์มะเร็ง
    • การทำงานของยาเข้าไปควบคุมการเจริญเติบโตหรือควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนในเซลล์มะเร็งได้

  2. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบไม่จำเพาะ (Non-specific Immunotherapy)  คือ
    • การให้ยาสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีที่ไม่จำเพาะ มักใช้พร้อมกับหรือหลังการรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น การใช้ยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
    • การทำงานของยาเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานของร่งกายในการทำลายเซลล์มะเร็ง

  3. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบใช้ไวรัสรักษามะเร็ง (Oncolytic Virus Therapy) คือ
    • การฉีดไวรัสเข้าสู่เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็ง
    • การทำงานของไวรัสที่ฉีดเข้าไปจะได้รับการตัดต่อพันธุกรรมให้มีคุณสมบัติจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไวรัสจะทำการแบ่งตัวภายในเซลล์เนื้องอกหรือในเซลล์มะเร็งจนส่งผลให้เซลล์มะเร็งตาย หลังจากนั้นตัวเซลล์ที่ตายจะปล่อยแอนติเจนหรือสิ่งที่ร่างกายระบุว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมออกมา ทำให้ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีที่มีผลเจาะจงกับเซลล์มะเร็งดังกล่าวได้

  4. ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษาโดยใช้ที-เซลล์บำบัด (T-cell Therapy) คือ
    • การฉีดทีเซลล์ (T-cell Therapy) ที่ผ่านกระบวนการการดัดแปลงให้มีความจำเพาะกับตัวรับ (Receptor) ในเซลล์มะเร็งกลับเข้าสู่ร่างกายจาก
    • การทำงานของการนำเซลล์ในเลือดของร่างกายมาดัดแปลง เพื่อให้ T-cell ทำลายเซลล์มะเร็ง

  5. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบใช้วัคซีนโรคมะเร็ง (Cancer Vaccines) คือ
    • การฉีดวัคซีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    • การทำงานของวัคซีนที่ฉีดกระตุ้น คือ ช่วยทำให้ร่างกายให้สามารถจดจำเซลล์มะเร็งและสามารถทำลายโปรตีนที่มีความเกี่ยวข้องกับเซลล์มะเร็งได้ ปัจจุบันมีการนำมาใช้เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งหลากหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก

แม้การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจะมีผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์น้อย แต่ก็ยังอาจพบได้ เช่น

  • มีไข้ ท้องเสีย

  • คลื่นไส้

  • ปวดหัว 

ซึ่งผลข้างเคียงดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับหลังจากการรักษาครั้งแรกแต่ก็อาจมีบางรายมีผลข้างเคียงรุนแรงซึ่งจะต้องสังเกตอาการเพื่อเฝ้าระวัง¹ อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ประกอบการเลือกแนวทางการรักษาดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งอย่างใกล้ชิดต่อไป

เมื่อต้องเข้ารับการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด การเตรียมพร้อมต้องเริ่มตั้งแต่ความพร้อมทางร่างกาย เพื่อสังเกตผลข้างเคียงยาภูมิคุ้มกันบำบัด

ก่อนเริ่มภูมิคุ้มกันบำบัด ผู้ป่วยควรบอกแพทย์เกี่ยวกับประวัติการรักษาทั้งหมดที่เคยรักษามา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณ :
มี โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง (Autoimmune diseases)

  • เคยการปลูกถ่ายอวัยวะหรือสเต็มเซลล์

  • มีปัญหาการหายใจ

  • มีปัญหาโรคตับ

  • กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์

  • กำลังให้นมลูกหรือวางแผนที่จะเริ่มให้นมลูก

  • กําลังรักษาอาการติดเชื้อใดๆ อยู่

  • บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ

  • หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลําบาก

  • ผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก มีจ้ำตามผิวหนัง หรือเลือดออกผิดปกติ

  • ตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง เจ็บชายโครงขวา เซื่องซึม ปัสสาวะสีชา เลือดออกง่ายกว่าปกติ หิวน้อยลง

  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ถ่ายปนเลือด อุจจาระมีสีดําหรือเหนียว ปวดท้องรุนแรง

  • ปวดหัวแบบผิดปกติ เหนื่อยล้า น้ำหนักตัวผิดปกติ หน้ามืดหรือเป็นลม หิวบ่อย หรือหิวน้ำบ่อยกว่าปกติ ผมร่วง 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรง ชาหรือเสียวที่ปลายมือปลายเท้า มีไข ้สับสนมึนงง อารมณ์ แปรปรวน

โรช ไทยแลนด์ ตระหนักถึงความสำคัญของโอกาสการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็งและโรคหายากอย่าง ฮีโมฟีเลีย มีความซับซ้อน ต้องอาศับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา และผู้ป่วยต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการช่วยเหลือในการลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย เป็นสิ่งหนึ่งที่อาจช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ดูแลได้

หากประสงค์เข้าร่วมโครงการ RPAP สามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ หรือติดต่อเบอร์โทรศัพท์ 02-161-4948 เพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ RPAP

อ้างอิง :

  1. http://hocc.medicine.psu.ac.th/files/khowledge/10oct_2017.pdf

  2. Tecentriq [package insert]. F. Hoffmann-La Roche Ltd, Basel, Switzerland; May2020

M-TH-00002379

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid