สำหรับดวงตาที่ได้รับผลกระทบจากโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ หรือ nAMD เกิดขึ้นจากจอตาเสื่อมเมื่อมีหลอดเลือดที่ผิดปกติเจริญเติบโตอยู่ใต้จุดภาพชัด (Macula) (บริเวณศูนย์กลางจอตา) หลอดเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้สามารถนําไปสู่ภาวะเลือดออกและสารนํ้ารั่วซึมที่ด้านหลังของลูกตา ทําให้เกิดอาการบวมของจอประสาทตา (เนื้อเยื่อชั้นในสุดของลูกตาที่มีความไวต่อแสง) และสูญเสียการ มองเห็น
Pic1 : ภาพดวงตาที่ได้รับผลกระทบจากโรค nAMD
มีโปรตีน 2 ประเภทที่เป็นสาเหตุของการบวมในดวงตา ได้แก่ VEGF และ Ang-2 ซึ่งโปรตีนทั้งสองทําให้หลอดเลือดมีการเจริญเติบโตผิดปกติ ไม่แข็งแรง ทําให้มีของเหลวรั่วไหลออกจากหลอดเลือด ซึ่งอาจนําไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วย nAMD ได้ โดยมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
มองเห็นเงาดําบดบังกลางภาพ
มองเห็นสีซีดจางกว่าปกติ
มองเห็นภาพพร่ามัวหรือบิดเบี้ยว เช่น มองเห็นเส้นตรงเป็นคลื่น
มองเห็นรูปร่างหรือขนาดวัตถุผิดเพี้ยน
อ่านหนังสือ ขับรถ ดูทีวีหรือทํากิจวัตรประจําวันอื่นๆ ได้ยากกว่าปกติ
เมื่อ 10 กว่าปีก่อนการรักษาหลักของโรคทางจอประสาทตา รวมถึงโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ หรือ nAMD จะเป็นการใช้เลเซอร์ ซึ่งวิธีนี้ช่วยชะลอโรคได้ แต่ไม่ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นมากนัก ต่อมาจึงมีการพัฒนาเป็นยาฉีดเข้าน้ำวุ้นตาที่ยับยั้ง VEGF (Anti-VEGF) ซึ่งส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกเดียว คือ Anti-VEGF มีส่วนช่วยลดการงอกของเส้นเลือดที่จอประสาทตา ทำให้การมองเห็นดีขึ้น แต่ต้องฉีดบ่อยทุก 1-2 เดือน ซึ่งสร้างภาระให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่างไกลโรงพยาบาลหรือต่างจังหวัด ที่ผู้ดูแลต้องลางานพาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลบ่อยๆ
สำหรับปัจจุบัน ยาฉีดเข้าน้ำวุ้นลูกตามีการพัฒนามากขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ที่ยับยั้ง 2 กลไกหลักของการเกิดโรค คือ ยับยั้งทั้ง VEGF และ Ang-2 (Anti Ang-2/VEGF) ช่วยทั้งลดการงอกและการรั่วของเส้นเลือด ลดการอักเสบ และเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือด ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น
และจากงานวิจัย พบว่าประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยฉีดยาที่ยับยั้ง 2 กลไก (Anti Ang-2/VEGF) เพียง 1 ครั้งใน 3 เดือน และประมาณร้อยละ 60 ฉีดเพียง 1 ครั้งใน 4 เดือน คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจึงดีขึ้นกว่าเดิม และจากการวิจัยทางคลินิกในผู ้ป่วยกว่า 3,200 ราย และการรักษาจริงกว่า 4,000,000 เข็มทั่วโลก ไม่พบผลข้างเคียงที่แตกต่างจากยาเดิม
นวัตกรรม Dual Pathway ที่ยับยั้ง 2 กลไกหลักของการเกิดโรค จึงเป็นแนวทางการรักษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยตัวยาที่อยู่ทน อยู่นาน ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ จึงสะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกันไป
Pic3 : ภาพกลไกการออกฤทธิ์
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ หรือ nAMD เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด มีดังนี้
● ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุดและควรไปพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง
● ในช่วงแรกควรฉีดยาทุก 4 สัปดาห์ เป็นเวลา 3-4 ครั้ง (หรือขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์) หลังจากนั้นความถี่ในการฉีดยาขึ้นอยู่กับการตอบสนอง
ต่อการรักษาและการประเมินของแพทย์
บทสรุป
ผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ ซึ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและเริ่มต้นรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงทีก็อาจทวีความรุนแรงจนทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงควรหมั่นต รวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะได้เข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที และลดการสูญเสียการมองเห็น
โดยนวัตกรรมการรักษาใหม่ Dual Pathway ยับยั้ง 2 กลไกหลักของการเกิดโรค จึงถือเป็นนวัตกรรมซึ่งรักษาที่ต้นเหตุ ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพที่นอกจากจะช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ จึงสะดวกสบายมากขึ้น เพราะตัวยาอยู่คงทน เห็นผลได้ยาวนาน
ข้อมูลอ้างอิง
1. Prescribing information: Licensed anti-VEGFs for intravitreal use in Thailand
2. Rosenfeld PJ, Brown DM, Heier JS, Boyer DS, Kaiser PK, Chung CY, Kim RY: Ranibizumab for neovascular age-related macular degeneration. N Engl J Med 2006;355:1419–1431.
3. Brown DM, Michels M, Kaiser PK, Heier JS, Sy JP, Ianchulev T: Ranibizumab versus verteporfin photodynamic therapy for neovascular age-related macular degeneration: two-year results of the ANCHOR study. Ophthalmology 2009;116:57–65.e5.
4. Schmidt-Erfurth U, Kaiser PK, Korobelnik JF, Brown DM, Chong V, Nguyen QD, Ho AC, Ogura Y, Simader C, Jaffe GJ, Slakter JS, Yancopoulos GD, Stahl N, Vitti R, Berliner AJ, Soo Y, Anderesi M, Sowade O, Zeitz O, Norenberg C, Sandbrink R, Heier JS. Intravitreal aflibercept injection for neovascular age-related macular degeneration: ninety-six-week results of the VIEW studies. Ophthalmology. 2014 Jan;121(1):193-201. doi: 10.1016/j.ophtha.2013.08.011. Epub 2013 Sep 29. PMID: 24084500.
5. Heier JS, Khanani AM, Quezada Ruiz C, Basu K, Ferrone PJ, Brittain C, Figueroa MS, Lin H, Holz FG, Patel V, Lai TYY, Silverman D, Regillo C, Swaminathan B, Viola F, Cheung CMG, Wong TY; TENAYA and LUCERNE Investigators. Efficacy, durability, and safety of intravitreal faricimab up to every 16 weeks for neovascular age-related macular degeneration (TENAYA and LUCERNE): two randomized, double-masked, phase 3, non-inferiority trials. Lancet. 2022 Feb 19;399(10326):729-740. doi: 10.1016/S0140-6736(22)00010-1. Epub 2022 Jan 24. PMID: 35085502.
6. Eichenbaum DA, et al. Presented at the American Society of Retina Specialists Annual Meeting, New York, NY, July 13–16, 2022
7. Priglinger SG, et al. Presented at the Macula Society 45th Annual Meeting, Berlin, Germany, June 8–11, 2022.
8. Dugel, Pravin U et al. “HAWK and HARRIER: Ninety-Six-Week Outcomes from the Phase 3 Trials of Brolucizumab for Neovascular Age-Related Macular Degeneration.” Ophthalmology vol. 128,1 (2021): 89-99. doi:10.1016/j.ophtha.2020.06.028
M-TH-00004225
This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid