โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับบริเวณที่อยู่ตรงใจกลางจอประสาทตาในลูกตาของเรา ที่เรียกว่าแมคูลา (macula) จอประสาทตาทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อทำให้เกิดการมองเห็น โดยมีแมคูลา (macula) ทำหน้าที่หลักเป็นจุดภาพชัดในการปรับการมองเห็นให้ชัดเจน โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของตาบอดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ¹,²

คนจำนวนมากที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุไม่ทราบว่าเป็นอาการของโรคนี้ในตอนแรก โดยเข้าใจผิดว่าเป็นอาการหูตาฝ้าฟางตามปกติของผู้สูงอายุ ซึ่งนำไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้น เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ (neovascular AMD หรือ nAMD) และภาพแสดงจุดรับภาพตรงกลางมีการเสื่อม (geographic atrophy)3,4

ในกรณีของโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ หลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติจะเจริญเติบโตอย่างไม่สามารถควบคุมได้อยู่ใต้จุดรับภาพ (macula) ดังนั้นจึงก่อให้เกิดอาการบวม มีเลือดออก และ/หรือเกิดพังผืดขึ้นที่บริเวณดังกล่าว5

ภาระของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่เกิดขึ้นกับคน 20 ล้านคนทั่วโลก1,6

ทั้งนี้คาดว่าจำนวนผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีจำนวนถึง 288 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 20402

โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี2

ปัจจัยเสี่ยงชนิดต่างๆ⁷

อายุ

โรคอ้วน

พันธุกรรม (ประวัติครอบครัวเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ)

เพศ (ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย)

เชื้อชาติ (พบได้มากกว่าในคนผิวขาว)

การสูบบุหรี่ (ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2-5 เท่า)

อาการแสดง⁸

สายตาพร่ามัว

ไม่สามารถมองเห็นในระยะไกลๆ หรือไม่สามารถทำงานที่มีรายละเอียดได้

เกิดจุดอับต่างๆ ขึ้นในแนวสายตา

ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีต่างๆ ได้

ขอบวัตถุและเส้นตรงปรากฏเป็นลักษณะลูกคลื่น

ผลกระทบของโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ (nAMD)

ความบกพร่องทางสายตาอาจส่งผลกระทบต่อ:9,10,11

  • ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน

  • ความสามารถในการทำงาน

  • ความสามารถในการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง

  • คุณภาพชีวิต ที่มีการแยกตัวจากสังคมมากขึ้น เป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล

โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมองเห็นหรือจดจำหน้าผู้คน อ่านหนังสือ ขับรถ หรือดูทีวี1,9

การตรวจตาประจำปี

การเข้ารับการตรวจตาประจำปีเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่อาจเกิดขึ้นกับการมองเห็น การตรวจจอประสาทตาหลังจากหยอดยาขยายรูม่านตาจะช่วยให้สามารถตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาได้ทุกชนิด หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ หรือโรคจอตาชนิดอื่นๆ ท่านสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการวัดสายตาและประกอบแว่นของท่าน หรือเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Bright Focus Foundation. Age-Related Macular Degeneration: Facts & Figures. [Internet; cited October 2021]. Available from:

  2. Wong WL, et al. Global prevalence of age-related macular degeneration and disease burden projection for 2020 and 2040: a systematic review and meta-analysis. Lancet Glob Health. 2014;2:106–16.

  3. NHS Choices. Macular Degeneration. [Internet; cited October 2021] Available from:

  4. Sacconi R, Corbelli E, Querques L, Bandello F, Querques G. A Review of Current and Future Management of Geographic Atrophy. Ophthalmology and Therapy. 2017; 6:69-77.

  5. Little K, et al. Myofibroblasts in macular fibrosis secondary to neovascular age-related macular degeneration-the potential sources and molecular cues for their recruitment and activation. EBioMedicine. 2018;38:283-91.

  6. Connolly E, et al. Prevalence of age-related macular degeneration associated genetic risk factors and 4-year progression data in the Irish population. Br J Ophthalmol. 2018;102:1691–5.

  7. Bright Focus Foundation. Macular Degeneration Prevention and Risk Factors. [Internet; cited October 2021]. Available from: http://www.brightfocus.org/macular/prevention-and-risk-factors.

  8. Bright Focus Foundation. Macular Degeneration Essential Facts. [Internet; cited October 2021]. Available from:

  9. Park SJ, Ahn S, Woo SJ, et al. Extent of Exacerbation of Chronic Health Conditions by Visual Impairment in Terms of Health-Related Quality of Life. JAMA Ophthalmol. 2015; 133:1267-1275.

  10. Taylor DR, et al. How does age-related macular degeneration affect real-world visual ability and quality of life? A systematic review. BMJ Open. 2016;6:e011504. doi:10.1136/bmj.

  11. Garcia GA, et al. Profound vision loss impairs psychological well-being in young and middle-aged individuals. Clin Ophthalmol. 2017;11:417–27.

M-TH-00001918

รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโรคจักษุวิทยา

ดูรายละเอียดโรคจักษุวิทยา

This website contains information on products which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid in your country. Please be aware that we do not take any responsibility for accessing such information which may not comply with any legal process, regulation, registration or usage in the country of your origin. which is targeted to a wide range of audiences and could contain product details or information otherwise not accessible or valid

ติดต่อสาขาของโรชlinkedinfacebooktwitterinstagramyoutubeเกี่ยวกับโรชหน่วยธุรกิจยาร่วมงานกับเราข่าวสารบทความRoche Privacy PolicyRoche Privacy Notice (HCPs)Roche Privacy Policy for PatientsRoche Privacy Policy for Contract PartiesRoche Privacy & Communication TermsLegal statementCCTV Privacy